สาธารณรัฐสิงคโปร์

สาธารณรัฐสิงคโปร์

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 มี.ค. 2555

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 201,591 view


สาธารณรัฐสิงคโปร์
Republic of Singapore

ข้อมูลทั่วไป

เมืองหลวง สิงคโปร์

ที่ตั้ง เป็นเกาะ (island city-state) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์ (ห่างจากคาบสมุทรประมาณ 137 กิโลเมตร) ทิศเหนือติดกับรัฐยะโฮร์ มาเลเซีย (Johor Bahru) ทิศตะวันออก ติดทะเลจีนใต้ ทิศตะวันตกติดมาเลเซียและช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดช่องแคบมะละกา ใกล้กับเกาะเรียล (Riau) ของอินโดนีเซีย

พื้นที่ 699.4 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต)

ประชากร 5.31 ล้านคน 

ศาสนา พุทธ (ร้อยละ 42.5) อิสลาม (ร้อยละ 14.9) คริสต์ (ร้อยละ 14.6) ฮินดู (ร้อยละ 4) ไม่นับถือศาสนา (ร้อยละ 25)

ภาษาราชการ อังกฤษ จีน มลายูและทมิฬ

ประมุข นายเอส อาร์ นาธาน (2542-ปัจจุบัน) ประธานาธิบดี

ผู้นำรัฐบาล นายลี เซียน ลุง (2547-ปัจจุบัน) นายกรัฐมนตรี

รูปแบบการปกครอง ระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (Parliamentary Parliament) มีสภาเดียว (Unicameral parliament) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (วาระ 6 ปี) และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล/หัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 5 ปี)

วันชาติ 9 สิงหาคม (แยกตัวจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508)

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 20 กันยายน 2508

เงินตรา ดอลลาร์สิงคโปร์

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 259.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

รายได้ประชาชาติต่อหัว 50,123 ดอลลาร์สหรัฐ

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.9 

สินค้าส่งออก เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า

สินค้านำเข้า เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร

 

การเมืองการปกครอง

 

 

 

� � � � � ประเทศสิงคโปร์มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (Parliamentary Parliament) มีสภาเดียว (Unicameral parliament) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (วาระ 6 ปี) และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล/หัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 5 ปี) สิงคโปร์มีเสถียรภาพและความต่อเนื่องทางการเมืองโดยมีรัฐบาลภายใต้การนำของพรรค People’s Action Party (PAP) มาโดยตลอดนับตั้งแต่แยกตัวออกจากมาเลเซียเมื่อปี 2508 เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2547 นายลี เซียน ลุง รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานธนาคารกลาง (บุตรของนายลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์)ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สามของสิงคโปร์ สืบแทนนายโก๊ะ จ๊ก ตง (ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโส)


การเลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์

 

 

 

� � � � � เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 นายเอส อาร์ นาธาน ครบวาระดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสิงคโปร์สมัยแรก (นายนาธานอายุ 81 ปี เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสิงคโปร์ แต่เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ที่มาจากการเลือกตั้ง) เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งสมัยที่สองเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 [ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2548 คณะกรรมการเลือกตั้งประธานาธิบดี (Presidential Elections Committee) ได้ประกาศว่า นายนาธานได้เป็นประธานาธิบดี โดยอัตโนมัตเนื่องจากผู้สมัครแข่งขันคนอื่นขาดคุณสมบัติ ]


การเลือกตั้งทั่วไป

 

 

� � � � � เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2549 สิงคโปร์ได้จัดการเลือกตั้งทั่วไป ก่อนสภาผู้แทนราษฎรจะครบวาระในเดือนพฤศจิกายนปี 2550 และเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่นายลี เซียน ลุง เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นครั้งที่ 13 นับตั้งแต่สิงคโปร์แยกตัวออกจากสหพันธ์รัฐมาลายาเมื่อปี 2508 ซึ่งพรรคกิจประชาชน (People’s Action Party – PAP) ภายใต้การนำของนายลี เซียน ลุง ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น โดยมีสมาชิกของพรรค PAP ได้รับเลือกตั้งจำนวน 82 ที่นั่งจากทั้งหมด 84 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร (ด้วยจำนวนคะแนนเสียงสนับสนุนจากผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด ร้อยละ 66.6) สำหรับอีก 2 ที่นั่งเป็นของพรรค Worker’s Party (WP) และ Singapore Democratic Alliance (SDA)

� � � � � ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีพรรคการเมืองรวม 4 พรรคส่งผู้สมัครลงแข่งขัน ได้แก่ พรรค People’s Action Party ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้านอีก 3 พรรค ประกอบด้วย (1) พรรค Worker’s Party (WP) ก่อตั้งเมื่อปี 2500 ภายใต้การนำของนาย Low Thia Kiang (2) พรรค Singapore Democratic Alliance (SDA) ก่อตั้งเมื่อปี 2544 และเป็นการรวมตัวของหลายพรรคการเมืองได้แก่ National Solidarity Party (NSP), Singapore Malay National Organization (PKMS), Singapore People’s Party (SPP) และ Singapore Justice Party ภายใต้การนำของนาย Chiam See Tong (3) พรรค Singapore Democratic Party (SDP) ก่อตั้งเมื่อปี 2523 โดยมีนาย Chee Soo Juan เป็นเลขาธิการ

� � � � � การเลือกตั้งของสิงคโปร์ประกอบด้วยเขตเลือกตั้งผู้แทนเดียว (Single Member Constituency – SMC) จำนวน 9 เขต และเขตเลือกตั้งกลุ่มผู้แทน (Group Representation Constituency – GRC) จำนวน 14 เขต ซึ่งพรรค PAP ได้ส่งผู้ลงสมัครในทุกเขต ขณะที่พรรคฝ่ายค้านได้ส่งผู้สมัครในเขต SMC จำนวน 9 เขต และเขต GRC จำนวน 7 เขต รวม 47 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด

� � � � � มีชาวสิงคโปร์ที่มีสิทธิเลือกตั้ง 1.2 ล้านคนจากจำนวนประชากรทั้งหมด 4 ล้านคน โดยมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 94.01 ทั้งนี้ ร้อยละ 40 เป็นผู้ที่เกิดหลังปี 2508 ซึ่งเป็นปีที่สิงคโปร์ได้ประกาศเอกราช นอกจากนี้ เป็นครั้งแรกที่สิงคโปร์ได้จัดให้มีการเลือกตั้งนอกประเทศในสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่จำนวน 8 แห่ง (กรุงวอชิงตัน นครซานฟรานซิสโก กรุงโตเกียว กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ เมืองฮ่องกง กรุงแคนเบอร์รา และกรุงลอนดอน)


การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

 

 

� � � � � เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้ประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ซึ่งจะเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งต่อประธานาธิบดีสิงคโปร์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2549

� � � � � คณะรัฐมนตรีชุดนี้ประกอบด้วยรัฐมนตรีจากคณะรัฐมนตรีชุดก่อนและยังคงดำรงตำแหน่งเดิมเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะตำแหน่งหลัก อาทิ นายโก๊ะ จ๊ก ตง เป็นรัฐมนตรีอาวุโส นายลี กวน ยู เป็นรัฐมนตรีที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ เอส จายากูมาร์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมาย และรัฐมนตรีประสานงานกิจการด้านความมั่นคงแห่งชาติ นายจอร์จ เยียว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายเตียว ชี เฮียน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

� � � � � รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีชุดเดิมที่ไม่ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอีก ได้แก่ นายเยียว เชียว ตง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม


นโยบาย

 

 

� � � � � เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2548 นายลี เซียน ลุงได้กล่าวถ้อยแถลงต่อประชาชนในโอกาสวันชาติสิงคโปร์ (National Day Rally Speech) โดยได้ระบุถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศและการดำเนินนโยบายต่างประเทศ โดยในด้านการต่างประเทศนั้น สิงคโปร์จะให้ความสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศอาเซียน (โดยเฉพาะมาเลเซียและอินโดนีเซีย) รวมทั้งกับประเทศมหาอำนาจสำคัญๆ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหภาพยุโรปและออสเตรเลีย นอกจากนั้น จะให้ความสำคัญกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน และการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย สำหรับนโยบายภายในประเทศ สิงคโปร์จะมุ่งเน้นเรื่องการปรับตัวทางเศรษฐกิจเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก (remake Singapore) โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมนวัตกรรม การประกอบการ การวิจัยและการพัฒนา (innovation, enterprise and R&D) สำหรับด้านสังคม จะให้ความสำคัญกับการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน การดูแลคนชราและผู้ที่มีรายได้ต่ำ รวมทั้งการส่งเสริมวัฒนธรรมด้านบริการเพื่อให้สิงคโปร์มีลักษณะของเมืองที่มีความเป็นสากล


การเปิดกว้างทางสังคม

 

 

� � � � �นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้ย้ำในหลายโอกาสว่าประสงค์ที่จะพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นสังคมที่โปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น (a more transparent and open society) โดยจะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงค่านิยมที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของประเทศ (อาทิ การเป็นพหุสังคมที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนา) มากกว่าการนำระบบเสรีนิยมประชาธิปไตยของตะวันตกมาปรับใช้ อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองสิงคโปร์เห็นว่าประเด็นเรื่องศาสนาและความแตกต่างทางเชื้อชาติเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนในสังคมสิงคโปร์

 

เศรษฐกิจการค้า

 


นโยบายด้านเศรษฐกิจ

 

 

� � � � � สิงคโปร์ต้องเผชิญกับประเด็นท้าทายสำคัญสามประการ ได้แก่ การแข่งขันจากประเทศในภูมิภาค การมีประชากรสูงอายุในจำนวนเพิ่มขึ้นขณะที่อัตราการเกิดของประชากรลดลง และการปรับโครงสร้างในภาคการผลิต ซึ่งเน้นการผลิตเพื่อการส่งออก

� � � � � เมื่อเดือนตุลาคม 2548 นายลิม อึง เคียง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ได้แถลงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับแนวทางยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม (manufacturing) (ซึ่งมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 27.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ใน 15 ปีข้างหน้า ได้แก่ (1) เพิ่มงบประมาณด้านการวิจัยและการพัฒนาจากร้อยละ 2.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นร้อยละ 3 โดยเน้น 3 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (biomedical sciences) เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและน้ำ (environmental and water technologies) และสื่อดิจิตัล (interactive and digital media) (2) ส่งเสริมการจัดทำความตกลงทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบของความตกลงการค้าเสรีทวิภาคี ความตกลงเพื่อส่งเสริมการลงทุน ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อนและความตกลงการรับรองมาตรฐานร่วม เพื่อขยายช่องทางทางการค้าและการลงทุนให้กับภาคเอกชนสิงคโปร์ (3) ขยายการผลิตในสาขาอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และพัฒนาสาขาอุตสาหกรรมใหม่ ๆ อาทิ นาโนเทคโนโลยี สื่อดิจิตัล เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน และ (4) ขยายการค้าและการลงทุนไปยังตลาดใหม่ๆ อาทิ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ซึ่งมีบริษัท Government Investment Corporation (GIC) และ Temasek Holdings ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นมีบทบาทสำคัญในการขยายตลาดดังกล่าว


สถานะการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

 

 

� � � � � ในปี 2548 ธนาคารโลกได้จัดให้สิงคโปร์อยู่ในลำดับหนึ่งของประเทศในภูมิภาคเอเชียและลำดับ 2 ของโลกที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนและจัดตั้งธุรกิจสูงที่สุด ปัจจัยที่สนับสนุนสภาพแวดล้อมดังกล่าว ได้แก่ อัตราภาษีศุลกากรที่ต่ำ ระบบราชการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ และความโปร่งใสของระบบราชการ (ปัจจุบัน สิงคโปร์เป็นที่ตั้งของบรรษัทข้ามชาติประมาณ 7,000 แห่งจากสหรัฐ ฯ ยุโรปและญี่ปุ่น วิสาหกิจจำนวน 4,000 แห่งจากจีน อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประมาณ 100,000 แห่ง)

� � � � � ในปี 2548 สถาบัน International Institute for Management Development (IMD) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้จัดให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีศักยภาพการแข่งทางเศรษฐกิจสูงสุดเป็นลำดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐ ฯ และฮ่องกงตามลำดับ โดยประเมินจากปัจจัย 4 ด้านได้แก่ ประสิทธิภาพของภาครัฐบาล ประสิทธิภาพของภาคเอกชน สภาวะทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน

� � � � � เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2548 องค์การทรัพย์สินทางปัญญาของโลกได้เปิดสำนักงานภูมิภาคในเอเชียเป็นแห่งแรกที่สิงคโปร์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในกฎระเบียบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีต่อสิงคโปร์


สถานะเสรีภาพของสื่อมวลชน

 

 

� � � � � ในรายงานประจำปี 2548 ขององค์กรเอกชน Reporters Without Borders เกี่ยวกับดัชนีเสรีภาพของสื่อมวลชน (Press Freedom Index) ของ 167 ประเทศทั่วโลกได้จัดให้สิงคโปร์อยู่ในลำดับที่ 140 ซึ่งต่ำกว่าประเทศสมาชิกก่อตั้งอาเซียนอีก 4 ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย (ลำดับ 102) ไทย (ลำดับ 107) และมาเลเซีย (ลำดับ 113)


สถานะความโปร่งใสของรัฐบาล

 

 

� � � � � ในปี 2548 สถาบัน Transparency International ได้จัดให้สิงคโปร์อยู่ในลำดับที่ 5 จาก 158 ประเทศทั่วโลกที่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงน้อยที่สุด (นายโก๊ะ จ๊ก ตง รัฐมนตรีอาวุโสได้ให้ความเห็นว่าแม้สิงคโปร์จะมีระดับเสรีภาพของสื่อมวลชนต่ำ แต่รัฐบาลมีความโปร่งใสมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ดังนั้น การมีเสรีภาพทางสื่อไม่ได้ช่วยส่งผลให้รัฐบาลของประเทศนั้นๆ มีระบบการปกครองที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใสเสมอไป)


สภาวะเศรษฐกิจในปี 2548

 

 

� � � � � ในปี 2548 เศรษฐกิจของสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.4 [อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์ในปี 2545 ร้อยละ 2.2 ปี 2546 ร้อยละ 1.1 และ ปี 2547 ร้อยละ 8.4 ตามลำดับ] ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป รวมทั้งอุปสงค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก แม้น้ำมันโลกมีราคาสูงขึ้น แต่กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ประเมินว่าจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ และจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของสิงคโปร์ยังคงมีการขยายตัวอันส่งผลให้อุปสงค์ในสินค้าของสิงคโปร์ยังมีอย่างต่อเนื่อง สำหรับปี 2549 เป็นที่คาดว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์จะสามารถขยายตัวในร้อยละ 5-7


การค้าระหว่างประเทศ

 

 

� � � � � ในปี 2548 การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราร้อยละ 15.5 มีมูลค่ารวม 429.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ของสิงคโปร์ ได้แก่ มาเลเซีย สหรัฐ ฯ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน และไทย ตามลำดับ

� � � � � สิงคโปร์ได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับ 11 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน(ในกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน) นิวซีแลนด์เมื่อปี 2543 สมาคมเขตการค้าเสรียุโรปเมื่อปี 2545 ญี่ปุ่นเมื่อปี 2545 ออสเตรเลียและสหรัฐ ฯ เมื่อปี 2546 จอร์แดนเมื่อปี 2547 Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement (บรูไน ดารุสซาลาม นิวซีแลนด์ ชิลีและสิงคโปร์) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 อินเดียเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2548 เกาหลีใต้เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2548 และปานามาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจา กับอีก 16 ประเทศ ได้แก่ กรอบอาเซียนกับจีน อาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อาเซียนกับอินเดีย อาเซียนกับญี่ปุ่น อาเซียนกับเกาหลีใต้ แคนาดา เม็กซิโก ศรีลังกา ปากีสถาน ปานามา เปรู คูเวต อียิปต์ บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์ [ข้อมูลจากกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์]


การพัฒนาเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค

 

 

� � � � � เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า อาทิ เวียดนาม จีนและอินเดีย รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจที่มีพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ (knowledge - based economy) และดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและพัฒนาให้ประเทศเป็นศูนย์กลางธุรกิจบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้แก่ (1) ด้านการบริการทางการแพทย์ สิงคโปร์มีโครงการ SingaporeMedicine ส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเดินทางมารักษาพยาบาลที่สิงคโปร์ ซึ่งมุ่งเน้นตลาดในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง (2) ด้านการบิน สิงคโปร์มีเป้าหมายจะรักษาสถานะการเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคโดยอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารหลังที่สาม (Terminal 3) ของท่าอากาศยานชางงีในมูลค่า 1.75 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2551 และอาคารสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำในมูลค่า 45 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2549 ซึ่งคาดว่าจะรองรับนักท่องเที่ยวได้จำนวน 2.7 ล้านคนต่อปี (3) ด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดสรรงบประมาณในมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์เพื่อสนับสนุนแผนแม่บทด้านการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ใน 10 ปีข้างหน้า (Tourism Master Plan 2015) เพื่อเสริมสร้างให้สิงคโปร์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในภูมิภาคและเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจาก 8 ล้านคน ในปี 2547 เป็น 17 ล้านคนในปี 2558 และรายได้จาก 10 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์เป็น 30 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2548 นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้แถลงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะสร้างบ่อนการพนันในรูปแบบของ Integrated Resort - IR จำนวน 2 แห่งที่บริเวณอ่าว Marina ซึ่งใกล้กับย่านธุรกิจของสิงคโปร์ และบนเกาะ Sentosa ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2552 (รายงานการศึกษาของบริษัท Merrill Lynch ระบุว่าบ่อนการพนัน 2 แห่งดังกล่าวจะสร้างรายได้ให้สิงคโปร์ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ประเมินว่าจะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในอัตราร้อยละ 10) การรณรงค์การท่องเที่ยวโดยเน้นจุดเด่นของสิงคโปร์ในการเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม “Uniquely Singapore” (4) ด้านการศึกษา สิงคโปร์มีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้ประเทศเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา (global schoolhouse) ตั้งแต่ปี 2541 Economic Development Board (EDB) ได้จัดทำโครงการ World Class University (WCU) เพื่อเชิญชวนและดึงดูดให้สถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลกในสาขาต่าง ๆ อาทิ บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์มาจัดตั้งสาขาในสิงคโปร์ สิงคโปร์ได้ร่วมมือกับสถาบันทางการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากกว่า 10 แห่ง อาทิ Massachusetts Institute of Technology, University of Pennsylvania, University of Chicago และ INSEAD เปิดสาขาที่สิงคโปร์ ในหลักสูตรด้านการบริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์การแพทย์และวิศวกรรมศาสตร์ (5) ด้านอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ (creative industries) รัฐบาลจะใช้งบประมาณจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ระหว่างปี 2547 –2552 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีกระทรวงข่าวสาร สารสนเทศและศิลปะเป็นหน่วยงานหลักดูแลเรื่องนี้

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสิงคโปร์

 


ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2508 เอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์คนปัจจุบัน คือ นายมารุต จิตรปฏิมา และมีหน่วยงานในสถานเอกอัครราชทูต ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตทหาร (สามเหล่าทัพ) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน และสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทยคนปัจจุบันคือ นางฉั่ว ซิว ซาน (Mrs.Chua Siew San)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์ยังคงมีความใกล้ชิดโดยบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันในรอบด้าน และในการพัฒนาการเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2553 ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยไทยกับสิงคโปร์มีกลไกทวิภาคีสำคัญ ๆ 4 กรอบได้แก่ (ก) การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรี (Prime Ministerial Retreat) (ข) โครงการแลกเปลี่ยนระหว่างข้าราชการพลเรือนไทยกับสิงคโปร์ (Civil Service Exchange Programme - CSEP) (ค) การประชุม Singapore - Thailand Enhanced Economic Relations (STEER) มีกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ประสานงาน และ (ง) ความร่วมมือด้านความมั่นคง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีเพียงความร่วมมือในกรอบ CSEP และความร่วมมือด้านความมั่นคงที่มี
การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม CSEP ครั้งที่ 10 ในวันที่ 19 - 20 มกราคม 2554
ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ไทยกับสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและไม่มีปมขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีเพื่อสนับสนุนการเป็นประชาคมอาเซียน สิงคโปร์ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองไทยอย่างใกล้ชิด โดยบุคคลในรัฐบาลไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองไทยมากเหมือนช่วงสองปีแรกของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในปี 2549 อย่างไรก็ดี สิงคโปร์ใช้ช่องทางสื่อมวลชนท้องถิ่นและต่างชาติที่มีสำนักงานในสิงคโปร์ และนักวิชาการต่างชาติที่อาศัยในสิงคโปร์ วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทย ทั้งนี้ เสถียรภาพทางการเมืองไทยจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการกระตุ้นให้สิงคโปร์รื้อฟื้นความร่วมมือกลไกทวิภาคีกับไทยทั้งในกรอบการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีและ STEER
ด้านการทหาร ไทยกับสิงคโปร์มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้บังคับบัญชาระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการบริหารร่วมด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่างกองทัพ คณะทำงานร่วมกองทัพเรือไทย-สิงคโปร์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการฝึกบุคลากร และการซ้อมรบร่วมกันในหลายโอกาส ล่าสุด ได้แก่ การฝึกร่วมผสม Exercise Cope Tiger ระหว่างไทย สิงคโปร์ สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 26 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ 2551 และการฝึก Cobra Gold ระหว่างวันที่ 4-17 กุมภาพันธ์ 2552 (ร่วมกับสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย) และระหว่างวันที่ 1 - 11 กุมภาพันธ์ 2553 (ร่วมกับไทย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐเกาหลี)
ความตกลงทวิภาคีด้านการทหารที่สำคัญ ได้แก่ ความตกลงเรื่องการฝึกของกองทัพสิงคโปร์ในไทย ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2550 - 2553 (ลงนามเมื่อ 16 กรกฎาคม 2555) และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสนับสนุนด้านการฝึกและการส่งกำลังบำรุงระหว่างกองทัพอากาศสิงคโปร์กับไทย ซึ่งไทยอนุญาตให้สิงคโปร์ใช้พื้นที่ในจังหวัดกาญจนบุรีเพื่อฝึกรบภาคพื้นดิน และที่สนามบินกองบินที่ 23 จังหวัดอุดรธานี
ในการฝึกรบทางอากาศ (ลงนามเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2547)

ด้านเศรษฐกิจ

ด้านการค้า ในปี ๒๕๕๔ สิงคโปร์เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ ๕ ของไทย (รองจากญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯและมาเลเซีย) ไทยเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ ๙ ของสิงคโปร์ โดยการค้ารวมมีมูลค่า ๑๙,๒๓๗.๓๘ ล้านเหรียญสหรัฐ (๕๘๒,๓๙๓.๘๖ ล้านบาท) ไทยส่งออก ๑๑,๔๕๐.๐๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๓๔๔,๗๘๑.๖๘ ล้านบาท) ไทยนำเข้า ๗,๗๘๗.๒๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๒๓๗,๖๑๒.๒๑ ล้านบาท) โดยไทยได้ดุลการค้า ๓,๖๖๒.๘๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๑๐๗,๑๖๙.๔๗ ล้านบาท)(มูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๓ มูลค่า ๓,๙๓๔.๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๙๕,๓๐๙.๕๘ ล้านบาท) และไทยได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้น ๙๔๖.๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๒๓,๘๗๙.๔๙ ล้านบาท))
สินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และน้ำมันดิบ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากสิงคโปร์ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์

ด้านการลงทุน ในปี ๒๕๕๔ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้อนุมัติ ๕๘ โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวม ๒๕,๑๗๕.๙ ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในสาขาอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร การบริการ เคมีภัณฑ์และกระดาษ การเกษตร

ด้านการท่องเที่ยว ในปี ๒๕๕๔ มีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์มาไทยจำนวน ๖๗๐,๑๔๘ คน ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นจากจำนวนชาวสิงคโปร์ที่เดินทางมาไทยในปี ๒๕๕๓ (จำนวน ๕๗๖,๒๕๙ คน) ร้อยละ ๑๑.๐๔

ด้านแรงงาน สิงคโปร์เป็นตลาดสำคัญของแรงงานไทยในลำดับสองรองจากไต้หวัน โดยในปี ๒๕๕๓ มีแรงงานไทยทั้งประเภทมีฝีมือและไม่มีฝีมือในสิงคโปร์ประมาณ ๓๓,๐๐๐ คน มีบริษัทที่ว่าจ้างแรงงานไทย ๒๘๑ บริษัทในสาขาการก่อสร้าง อู่ต่อเรือ และปิโตรเคมี

ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

สิงคโปร์ได้เป็นประเทศแรกๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยต่อกรณีพิบัติภัยที่ภาคใต้ของประเทศไทยเมื่อเดือนธันวาคม 2547 โดยได้ส่งเครื่องบิน C -130 พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ค้นหาและกู้ภัยจำนวน 23 คนจาก Singapore Civil Service Defence Force และยาเวชภัณฑ์ ผ้าห่ม อาหารแห้ง รวม 13 ตัน รวมทั้ง ส่งเฮลิคอปเตอร์ 4 ลำ (Super Pumas 2 ลำ Chinooks 2 ลำ) เพื่อช่วยค้นหาและกู้ภัย รวมทั้งได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านชันสูตรศพจำนวน 4 คน ไปยังจังหวัดภูเก็ต เพื่อพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิต นอกจากนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 สิงคโปร์ได้ให้ความช่วยเหลือในรูปสิ่งของแก่ผู้ประสบอุทกภัยในภาคเหนือ รวมมูลค่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ และได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ Chinook ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ซึ่งฝึกบินในประเทศไทยให้ความช่วยเหลือในภารกิจกู้ภัยที่จังหวัดพิษณุโลก

ความตกลงสำคัญ ที่ได้ลงนามไปแล้ว

1. ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทยกับสิงคโปร์
ลงนามเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2518

2. บันทึกความตกลงเรื่องการฝึกของกองทัพสิงคโปร์ในราชอาณาจักรไทย
ลงนามเมื่อปี 2525

3. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพสิงคโปร์
ลงนามเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2534

4. บันทึกความเข้าใจด้านยานยนต์
ลงนามเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546

5. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ลงนามเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546

6. บันทึกความเข้าใจด้านธุรกิจและการลงทุน
ลงนามเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546

7. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
ลงนามเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546

8. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งออกหมูต้มสุกจากไทยไปสิงคโปร์
ลงนามเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546

9. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสปา
ลงนามเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546

10. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านตลาดหลักทรัพย์
ลงนามเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546

11. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการฝึกบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศระหว่างกองทัพอากาศกับกองทัพอากาศสิงคโปร์
ลงนามเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546

12. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสนับสนุนด้านการฝึกและการส่งกำลังบำรุงซึ่งกันและกันระหว่างกองทัพอากาศสิงคโปร์และกองทัพอากาศไทย
ลงนามเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2547

13. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเข้าร่วมการฝึกคอบบร้าโกลด์ระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพสิงคโปร์
ลงนามเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548

14. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสนับสนุนด้านการฝึกและการส่งกำลังบำรุงซึ่งกันและกันระหว่างกองทัพอากาศสิงคโปร์และกองทัพอากาศไทย
ลงนามเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2548

15. บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับสิงคโปร์ว่าด้วยการจัดทำความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
ลงนามเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548

16. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการไทยกับสิงคโปร์
ลงนามเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2549

17. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการฝึกของกองทัพสิงคโปร์ในราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2550-2553)
ลงนามเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550
18. บันทึกความเข้าใจระหว่างกองทัพเรือกับกองทัพเรือสิงคโปร์สำหรับ
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรือพาณิชย์ที่ประกอบอาชีพโดยสุจริต (อยู่ระหว่างการจัดทำ)


การเยือนที่สำคัญ

ฝ่ายไทย

 

 

(1) พระบรมวงศานุวงศ์

วันที่ 20 มีนาคม 2493
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2494
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 17 สิงหาคม 2505
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 2-4 กรกฎาคม 2542
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 12-17 เมษายน 2543
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 22-25 มิถุนายน 2543
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 12-14 พฤษภาคม 2547
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 10-12 กันยายน 2547
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์เป็นการส่วนพระองค์

วันที่ 5-11 กันยายน 2548
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จเยือนสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันแบดมินตัน Cheers Asian Satellite Badminton Championships 2005

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2548
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์เพื่อทรงทำการฝึกบิน

วันที่ 23 พฤษภาคม 2549
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์เพื่อทรงทำการฝึกบิน

วันที่ 28 สิงหาคม - 2 กันยายน 2549
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จเยือนสิงคโปร์เพื่อร่วมการแข่งขันแบดมินตัน Cheers Asian Satellite Badminton Championships 2006

วันที่ 23-25 เมษายน 2550
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์เพื่อทรงกล่าวปาฐกถาในการประชุม I-CREATe 2007

วันที่ 28 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2550
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จเยือนสิงคโปร์เพื่อร่วมการแข่งขันแบดมินตัน Cheers Asian Satellite Badminton Championships 2007

วันที่ 22-24 กรกฎาคม 2550
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาเสด็จเยือน สิงคโปร์เพื่อดูงานด้านกฎหมาย

วันที่ 21-24 พฤษภาคม 2551
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จเยือนสิงคโปร์เพื่อร่วมการแข่งขันแบดมินตัน Cheers Asian Satellite Badminton Championships 2008

วันที่ 19 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2551
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเยือนสิงคโปร์เพื่อร่วมพิธีเปิดงานภาพยนตร์ "หนึ่งใจเดียวกัน"

วันที่ 3-6 กันยายน 2551
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเยือนสิงคโปร์เพื่อร่วมงานฉายภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์ "หนึ่งใจเดียวกัน"

วันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2552
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุ เสด็จเยือนสิงคโปร์เป็นการส่วนพระองค์

วันที่ 22-26 เมษายน 2552
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนสิงคโปร์ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของประธานาธิบดีและเพื่อทรงเข้าร่วมการประชุม International Convention for Rehabilitation Engineering & Assistive Technology (i-CREATe) 2009

วันที่ 12 - 13 เมษายน 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนสิงคโปร์เป็นการส่วนพระองค์

วันที่ 29 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์เป็นการส่วนพระองค์

วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์เป็นการส่วนพระองค์

วันที่ 29 - 31 กรกฎาคม 2554 พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จเยือนสิงคโปร์เป็นการส่วนพระองค์
 

 

(2) รัฐบาล

วันที่ 21 - 23 สิงหาคม 2544 พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเยือน
สิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 18 - 20 มีนาคม 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเยือน
สิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 22 มิถุนายน 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเยือน
สิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 22 - 23 สิงหาคม 2544 นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนสิงคโปร์พร้อมนายกรัฐมนตรี

วันที่ 17 - 18 พฤษภาคม 2548นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

วันที่ 13 - 14 ตุลาคม 2552 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการและเพื่อเป็นประธานร่วมการประชุมโครงการ CSEP ครั้งที่ 9

วันที่ 8 ธันวาคม 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ

ฝ่ายสิงคโปร์

พระราชอาคันตุกะ

วันที่ 17 - 21 มกราคม 2548 ประธานาธิบดีสิงคโปร์เยือนไทยอย่างเป็น
ทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

รัฐบาล

วันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2552 นายลี เซียน ลุงนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

วันที่ 10 – 12 เมษายน 2552 นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน + 3 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่เมืองพัทยา

วันที่ 19 – 20 มกราคม 2554 นายจอร์จ เยียว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์เยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นประธานร่วมการประชุมโครงการ CSEP ครั้งที่ 10

วันที่ 28 - 29 พฤศจิกายน 2554 นายเค ชันมูกัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์เยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อแนะนำตัวในโอกาสรับตำแหน่ง

การประชุมที่สำคัญ

การประชุม Prime Ministerial Retreat ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2554
การประชุม Singapore Thailand Enhanced Economic Relationship STEER ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2548 ที่ประเทศไทย สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 3
การประชุมโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยราชการพลเรือนไทย-สิงคโปร์ (Civil Service Exchange Programme – CSEP) ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 19 – 20 มกราคม 2554 ที่ประเทศไทย
--------------------
คลิ๊กตัวอักษรสีดำเพื่อเข้าสู่เว็บไซด์ต่าง ๆ
ทำเนียบประธานาธิบดีสิงคโปร์
รัฐบาลสิงคโปร์
สำนักนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
กระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์
กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์
การท่องเที่ยวสิงคโปร์
ศูนย์ข้อมูลสิงคโปร์กรมสถิติสิงคโปร์

24 มีนาคม 2554 พระราชอาคันตุกะ

ปรับปรุงเมื่อวันที่ เมษายน 2556

กองเอเชียตะวันออก 1 กรมเอเชียตะวันออก โทร. 0-2643-5195-6 Fax. 0-2643-5197

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

เอกสารประกอบ

world-country-225-document.doc