ราชรัฐลิกเตนสไตน์

ราชรัฐลิกเตนสไตน์

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 มี.ค. 2553

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 13,184 view


ราชรัฐลิกเตนสไตน์
Principality of Liechtenstein

ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง ใจกลางของทวีปยุโรป ระหว่างออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์

พื้นที่ 160 ตารางกิโลเมตร

พรมแดน มีพรมแดนติดกับออสเตรีย 34.9 กิโลเมตร และติดสวิสเซอร์แลนด์ 41.1 กิโลเมตร (ไม่มีทางออกทะเล)

ภูมิอากาศ ภาคพื้นยุโรป อากาศเย็น ฤดูหนาวมีเมฆหมอกทึบ ฝนและหิมะ ฤดูร้อนเย็นหรืออบอุ่น ชื้น มีเมฆหมอกปกคลุม

สภาพภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 เขต คือ Lowland (Schellenberg) ใกล้แม่น้ำ Rhine และ Upland (Vaduz) ในบริเวณเทือกเขาแอลป์

ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานน้ำ

เมืองหลวง วาดุซ (Vaduz)

ประชากร 35,000 คน โดยร้อยละ 38 เป็นชาวต่างชาติ (สวิส ออสเตรีย และเยอรมัน)

เชื้อชาติ อลิมานนิค-ลาติน (Alemannic-Latin) ร้อยละ 87.5 และอีกร้อยละ 12.5 เป็นชาวอิตาเลี่ยน เติร์ก และอื่นๆ

ศาสนา นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก ร้อยละ 76.2 และนิกายโปรเตสแตนท์ ร้อยละ 7 ไม่ระบุศาสนา ร้อยละ 10.6 และอื่นๆ ร้อยละ 6.2

ภาษา เยอรมันเป็นภาษาราชการ

วันชาติ 15 สิงหาคม

เงินตรา สวิสฟรังก์ อัตราแลกเปลี่ยนโดยประมาณ 1 สวิสฟรังก์ = 32.01 บาท (20 ม.ค.53)

GDP 13.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2551)

GDP per capita 3,061 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2551)

อัตรการเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 3.5 (ปี 2551)

ความสัมพันธ์ทางการทูต ลิกเตนสไตน์มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 66 ประเทศ

ประมุขประเทศ เจ้าชายฮันส์ แอดัม ที่สอง (His Serene Highness Reigning Prince Hans Adam II) ขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2532 และต่อมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2547 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าชายอาโลอิส มกุฎราชกุมาร (His Serene Hereditary Prince Alois) พระราชโอรสองค์โต เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทั้งนี้ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชรัฐลิกเตนสไตน์ ที่ให้อำนาจองค์พระประมุข ในการแต่งตั้งองค์รัชทายาทลำดับต่อจากองค์พระประมุขและบรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในกรณีที่องค์พระประมุขไม่สามารถปฏิบัติพระราชภารกิจเป็นการชั่วคราวหรือเพื่อเตรียมการสืบราชสมบัติ

หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี Klaus Tschutscher
จากพรรค Vaterländische Union ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2552อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
รองนายกรัฐมนตรี Dr. Martin Meyer

รัฐมนตรีต่างประเทศ Dr. Aurelia Frick

คณะรัฐบาล (Government Councillors) ประกอบด้วย
1. นาย Klaus Tschütscher (Head of the Government) -Prime Minister, Family and Equal Opportunity
2. นาย Martin Meyer– Deputy Prime Minister, Economic Affairs, Construction and Public Work,Transport
3. นาง Aurelia Frick-- Foreign Affairs, Cultural Affairs ,Justice
4. นาย Hugo Quaderer – Home Affairs, Educatio n,Sports
5. นาง Renate Müssner – Public Health, Social Affairs and Environmental Affairs, Land Use Planning, Agriculture and Forestry

การเมืองการปกครอง

ระบบการปกครอง ประชาธิปไตย โดยมีเจ้าชายเป็นองค์พระประมุข ปัจจุบัน คือ เจ้าฮันส์ แอดัม ที่สอง

เขตปกครอง แบ่งเป็น 11 เขต (Commune) คือ Balzers, Eschen, Gamprin, Mauren, Planken, Ruggell, Schaan, Schellenberg, Triesen, Triesenberg และ Vaduz

รัฐสภา มีสภาเดียว คือ Diet (Landtag) ประกอบด้วยสมาชิก 25 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ทุกๆ 4 ปี จะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2552

นโยบายต่างประเทศ

ก่อนรัชสมัยเจ้าชายฮันส์ แอดัม ที่สอง ลิกเตนสไตน์มีความสัมพันธ์กับต่างประเทศน้อยมาก โดยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเพียง 3 ประเทศ (สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และนครวาติกัน) เท่านั้น หลังจากที่เจ้าชายฮันส์ แอดัม ที่สอง ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปี 2532 ลิกเตนสไตน์ก็ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศมากขึ้น โดยปัจจุบันได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 66 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ดี ลิกเตนสไตน์แต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำเพียงประเทศเดียวคือ สวิตเซอร์แลนด์ ส่วนออสเตรียกับนครวาติกันมีเพียงเอกอัครราชทูตที่ไม่มีถิ่นที่อยู่เป็นผู้แทนทางการทูต

ลิกเตนสไตน์เป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง ที่สำคัญ ได้แก่ Council of Europe (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ. 1978), United Nations (ค.ศ. 1990), European Free Trade Association (ค.ศ. 1991), European Economic Area (ค.ศ. 1995) และ World Trade Organization (ค.ศ. 1995)

ลิกเตนสไตน์ดำเนินนโยบายเป็นกลาง โดยมีความสัมพันธ์ในลักษณะพิเศษที่ใกล้ชิดมากกับสวิตเซอร์แลนด์ อาทิ มีความตกลงทางศุลกากรกับสวิตเซอร์แลนด์ (ค.ศ.1924) ให้ศุลกากรสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้จัดเก็บภาษีศุลกากรให้ และความตกลงให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ในต่างประเทศ (ค.ศ. 1919) นอกจากนั้น ยังมีสนธิสัญญากับสวิตเซอร์แลนด์ด้านบริการ ไปรษณีย์ โทรเลข และโทรศัพท์ (ค.ศ. 1921) สำหรับประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดรองลงไป คือ ออสเตรีย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในด้านประวัติศาสตร์และเชื้อชาติ

ข้อพิพาทระหว่างประเทศ ลิกเตนสไตน์อ้างสิทธิในดินแดนของสาธารณรัฐเช็ก 620 ตารางไมล์ ซึ่งสาธารณรัฐเช็กริบมาจากราชวงศ์ลิกเตนสไตน์ในปี ค.ศ. 1918 แต่ฝ่ายเช็กไม่ยอมรับการอ้างสิทธิดังกล่าว โดยถือว่าการเรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนใดๆ จะต้องไม่ย้อนหลังเกินกว่าเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมีอำนาจ



เศรษฐกิจการค้า

การผลิตภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ 40 ของ GDP) อิเล็คโทรนิคส์ การผลิตโลหะ สิ่งทอ เซรามิคเวชภัณฑ์ อาหาร precision instruments การท่องเที่ยว

การเงินการธนาคาร(ร้อยละ 30 ของ GDP) การบริการรวมทั้งการท่องเที่ยว (ร้อยละ 25 ของ GDP)

การผลิตภาคเกษตรกรรม (ร้อยละ 5 ของ GDP) ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด มันฝรั่ง ปศุสัตว์ ผลผลิตนม เนย

แรงงาน 22,187 คน ในจำนวนนี้ 13,576 คนเป็นชาวต่างชาติ 7,781 คนเดินทางไป-กลับ ออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์ทุกวัน

ประเภทแรงงาน ทำงานในภาคอุตสาหกรรม การค้า และการก่อสร้าง 45%

สินค้าส่งออก เครื่องจักรกลขนาดเล็ก อุปกรณ์สำหรับเครื่องเสียงและวีดิโอ ส่วนประกอบเครื่องยนต์ ผลิตภัณฑ์สำหรับช่องปาก ฮาร์ดแวร์

ประเทศคู่ค้า สหภาพยุโรป และประเทศสมาชิก EFTA 60.57% (สวิตเซอร์แลนด์ 15.7%) สหรัฐอเมริกา

สินค้านำเข้า ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์พลังงาน เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ อาหาร เครื่องยนต์

ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ออสเตรีย เยอรมนี

ประเทศคู่ค้า สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์

ภาษี มีการเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำ สำหรับบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่จะมีช่วงปลอดภาษี ขึ้นกับประเภทธุรกิจ ภาษีสำหรับ estate tax เก็บในอัตรา 0.2 - 0.9 %ภาษีเงินได้อัตรา 4-18 % สำหรับบริษัทถือหุ้น (holding company) ที่มีถิ่นที่อยู่ในลิกเตนสไตน์ได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องเสียภาษี ลิกเตนสไตน์จึงเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนนอกประเทศ (off-shore investment) ที่สำคัญของยุโรป

การทำไวน์เป็นสิ่งที่ชาวลิกเตนสไตน์ภาคภูมิใจ แม้จะมีพื้นที่เพาะปลูกน้อย (เพียง 54 เอเคอร์) แต่พื้นที่เพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ และภูมิอากาศที่มีแสงแดดปีละ 1,500 ชั่วโมง กอรปกับมีโรงงานผลิตไวน์ที่ทันสมัยทำให้ไวน์ของลิกเตนสไตน์มีคุณภาพใกล้เคียงกับไวน์สวิส ปัจจุบันไวน์ของลิกเตนสไตน์ที่ผลิตได้จะจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก ยี่ห้อที่ขึ้นชื่อ คือ Sussdruck สีอิฐแดง และ Beerli สีแดงเข้ม การโฆษณาเน้นให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูก การเก็บ และการกลั่น โดยสามารถหาดื่มได้ตามร้านอาหารทั่วไป

นโยบายด้านเศรษฐกิจ มีความร่วมมือใกล้ชิดกับสวิตเซอร์แลนด์ และเข้าร่วมกลุ่ม EFTA ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 มีส่วนร่วมในความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสวิตเซอร์แลนด์ กับยุโรป และเป็นภาคีความตกลงเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1995 หลังปี ค.ศ. 1945 ได้เปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมเป็นการท่องเที่ยว ภาคบริการทางการเงิน และอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก คือ อุตสาหกรรมผลิตเครี่องจักรกล สิ่งทอ เซรามิค ผลิตภัณฑ์ เคมีและยา อิเล็คโทรนิคส์ อาหารกระป๋อง

ข้อพิพาทระหว่างประเทศลิกเตนสไตน์อ้างสิทธิในดินแดนของสาธารณรัฐเช็ก 620 ตารางไมล์ ซึ่งเช็กริบมาจากราชวงศ์ลิกเตนสไตน์ในปี ค.ศ. 1918 แต่ฝ่ายเช็กไม่ยอมรับการอ้างสิทธิดังกล่าว โดยถือว่าการเรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนใดๆ จะต้องไม่ย้อนหลังเกินกว่าเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมีอำนาจ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชรัฐลิกเตนสไตน์

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ประเทศไทยและลิกเตนสไตน์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2540 (เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อเจ้าชายฮันส์ แอดัม ที่สอง) ปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น เป็นผู้ดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ลิกเตนสไตน์ ส่วนลิกเตนสไตน์มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตสวิสดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ชุมชนคนไทยในลิกเตนสไตน์มีประมาณ 300 คน ส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านแต่งงานกับชาวลิกเตนสไตน์ และมีร้านอาหารไทย 2 ร้านในลิกเตนสไตน์

ในปี 2551 มีนักท่องเที่ยวลิกเตนสไตน์เดินทางมาไทย จำนวน 273 คน

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
ลิกเตนสไตน์เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก EFTA ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำ
ข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับไทย โดยทั้งสองฝ่ายได้เจรจากันแล้ว ๒ รอบ แต่ภายหลังจากที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ฝ่ายไทยได้ขอระงับการเจรจาไว้ก่อนชั่วคราว อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 10-11 กันยายน 2550 ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มการเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่ ที่นครเจนีวา ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดวันเจรจาต่อ เนื่องจากไทยยังไม่มีการแต่งตั้งหัวหน้าคณะเจรจาใหม่หลังจากหัวหน้าคณะเจรจาเดิมได้สิ้นสุดวาระลงเมื่อมีการยุบสภา ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก EFTA (มี 4 ประเทศ ประกอบด้วย สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอร์แลนด์ และลิกเตนสไตน์) มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและรายได้ประชากรเฉลี่ยต่อหัวสูง และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหลายสาขา เช่น ด้านเภสัชกรรมและเวชกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การประมง และการธนาคาร รวมทั้งเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญอีกด้วย

ลิกเตนสไตน์เป็นคู่ค้าอันดับที่ 149 ของไทย และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยใน EFTA (รองจากสวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์) ในปี 2552 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 123.59ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 116.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 7.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า108.53 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสินค้าไทยที่ส่งออกไปลิกเตนสไตน์ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าเบ็ดเตล็ด เครื่องใช้สำหรับเดินทาง เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากลิกเตนสไตน์ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การ

ความตกลงที่สำคัญกับไทย
ไทยและสวิตเซอร์แลนด์ได้ลงนามในความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางพิเศษ โดยสามารถพำนักได้เป็นระยะเวลา 90 วัน ซึ่งความตกลงนี้ มีผลบังคับใช้ครอบคลุมลิกเตนสไตน์ด้วย สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของลิกเตนสไตน์สามารถของ visa-on-arrival ในการเดินทางเข้าประเทศไทย และผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทย หากได้รับการตรวจลงตราของสวิตเซอร์แลนด์ หรือได้รับ schegen mutiple-entry visa ก็สามารถเดินทางเข้าลิกเตนสไตน์ได้

การเยือนระดับสูง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เคยเสด็จประพาสราชรัฐลิกเตนสไตน์อย่างไม่เป็นทางการ ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ และในระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ดังปรากฏในหนังสือพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี "พระมามลาย โศกหล้า เหลือสุข" ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์

สมเด็จพระเทพรรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนลิกเตนสไตน์ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของเจ้าชายฮันส์ แอดัม ที่สอง เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2541 โดยประทับอยู่ที่ปราสาทวาดุซของเจ้าผู้ครองราชรัฐลิกเตนสไตน์

เจ้าชายอาโลอิส มกุฎราชกุมารแห่งลิกเตนสไตน์ เสด็จฯ เยือนไทย ระหว่างวันที่ 11-15 มิ.ย. 2549 เพื่อทรงเข้าร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระประวัติ ดังเอกสารแนบ

มีนาคม 2553


กองยุโรป 3 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5142-3 Fax. 0 2643 5141 E-mail : [email protected]

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

เอกสารประกอบ

world-country-154-document.doc