สาธารณรัฐเช็ก

สาธารณรัฐเช็ก

วันที่นำเข้าข้อมูล 30 ก.ค. 2553

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 17,919 view


สาธารณรัฐเช็ก
Czech Republic

ข้อมูลทั่วไป


ที่ตั้ง กลางทวีปยุโรป ไม่มีทางออกสู่ทะเล
ทิศเหนือติดกับโปแลนด์
ทิศใต้ติดกับออสเตรีย
ทิศตะวันออกติดกับสโลวะเกีย และ
ทิศตะวันตกติดกับเยอรมนี
พื้นที่ 78,866 ตร.กม. (1 ใน 6 ของไทย)
เมืองหลวง กรุงปราก (Prague)
ประชากร 10.5 ล้านคน (ปี 2554)
ภูมิอากาศ ฤดูหนาวอุณหภูมิ -5 ถึงต่ำสุด -15 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนอุณหภูมิ 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส
ภาษาราชการ เช็ก
ศาสนา ไม่นับถือศาสนา ร้อยละ 59 คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 26.8 นิกายโปรเตสแตนต์ ร้อยละ 2.1 อื่น ๆ ร้อยละ 12.1

 

 

การเมืองการปกครอง


ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายมิลอช เซมัน  (Milos Zeman)

นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นายยีรี รุสนอค (Jiri Rusnok)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คือ นายยาน โคโฮท (Jan Kohout)

ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขมาจากการเลือกตั้งของสภาสูง (Senate) ร่วมกับสภาล่าง (Chamber of Deputies) มีวาระ 5 ปี ดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 โดยประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อคณะรัฐมนตรีให้ประธานาธิบดีแต่งตั้ง

วันชาติ 28 ตุลาคมของทุกปี

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 15 มิถุนายน 2517

 

 

 

เศรษฐกิจการค้า


หน่วยเงินตรา โครูน่า (Koruna)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 195.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2556)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 25,763 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2554)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.7 (ปี 2554)
สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง วัตถุดิบ เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง วัตถุดิบ เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์

 

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็ก


1. ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็ก
1.1 การทูต
ไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับเช็กมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของเชโกสโลวะเกีย โดยไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเชโกสโลวะเกียเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2517 และเมื่อเกิดการแบ่งแยก เชโกสโลวะเกียออกเป็น 2 ประเทศ ไทยก็ได้ให้การรับรองทั้งสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวักในฐานะผู้สืบสิทธิ์ร่วมกัน และสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับทั้งสองประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ไทย-เช็ก ดำเนินมาด้วยความราบรื่น เอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก คนปัจจุบัน คือ นางกฤษณา จันทรประภา และเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กประจำประเทศไทย คือ นายมิลัน เซดลาเชก (Milan Sedlacek)
ไทยและเช็กต่างเป็นประเทศที่มีบทบาทแข็งขันในภูมิภาคและในประชาคมระหว่างประเทศ และต่างเป็นพันธมิตรที่สนับสนุนซึ่งกันและกันในเวทีระหว่างประเทศ นอกจากนี้ เช็กมักให้ความสนใจสอบถามไทยเกี่ยวกับปัญหาเรื่องเมียนมาร์ เนื่องจากอดีตประธานาธิบดีวาสลาฟ ฮาเวล (Vaclav Havel) ของเช็กเป็นผู้เสนอชื่อนางออง ซาน ซู จี เพื่อรับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในปี 2534
คนไทยในเช็กที่รายงานตัวต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก มีจำนวน 609 คน ทำงานในสาขาต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นพนักงานนวดแผนไทย และพนักงานร้านอาหารไทย ที่เหลือเป็นแรงงานในกิจการอื่น ๆ และแม่บ้าน นักศึกษา คนไทยที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ข้าราชการและครอบครัว

1.2 เศรษฐกิจ
1.2.1 การค้า
เช็กเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยในกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรป ในปี 2556
มีมูลค่าการค้ารวม 922.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 724.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 198.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 525.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเช็ก ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ นมและผลิตภัณฑ์นม ยุทธปัจจัย อุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์
1.2.2 การลงทุน
การลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศมีปริมาณน้อย และมีเพียงในรูปแบบกิจการร่วมทุนร้านอาหารไทย หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว ทั้งนี้ ในปี 2554 มีรายงานการลงทุนของเช็กในประเทศไทยที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment - BOI) 2 โครงการได้แก่ บริษัท Tegamo (Thailand) จำกัด ซึ่งให้บริการด้านการค้าและการลงทุน และมีมูลค่า การลงทุน 11 ล้านบาท และบริษัท IDSA จำกัด ซึ่งผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมีมูลค่าการลงทุน 35 ล้านบาท
1.2.3 การท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวเช็กนิยมเดินทางมากรุงเทพฯ และท่องเที่ยวแถบชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะพัทยา เกาะสมุย ภูเก็ต และกระบี่ โดยในปี 2555 มีชาวเช็กเดินทางมาประเทศไทย 32,430 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2554  และ 2553 ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเช็กมาไทยเป็นจำนวน 29,814 คน และ 28,068 คน ตามลำดับ จากสถิติการโรงแรมของฝ่ายเช็ก มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเช็กประมาณ 50,000 คนในปีที่ผ่านมา

2. ความตกลงที่สำคัญกับไทย
2.1 ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (ลงนามเมื่อปี 2531)
2.2 ความตกลงเพื่อยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ
(ลงนามเมื่อปี 2534)
2.3 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้า (ลงนามเมื่อปี 2537) ซึ่งได้ยกเลิกไปหลังเช็กเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
2.4 ความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ลงนามเมื่อปี 2537)
2.5 อนุสัญญาเพื่อเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (ลงนามเมื่อปี 2537)
2.6 ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย - เช็ก (ลงนามเมื่อปี 2537)
2.7 ความตกลงว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (ลงนามเมื่อปี 2543)

2.8   ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ลงนามเมื่อปี 2556)

2.9   บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม (ลงนามเมื่อปี 2556)

           2.10 พิธีสารว่าด้วยการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมด้านเศรษฐกิจไทย-สาธารณรัฐเช็ก

                   ครั้งที่ 1 (ลงนามเมื่อปี 2556)

3. การเยือนที่สำคัญ
3.1 ฝ่ายไทย

                 พระราชวงศ์

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

     - วันที่ 27 ตุลาคม 2545 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนเช็กเป็นการส่วนพระองค์

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

    - วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนเช็กเป็นการส่วนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ

                - วันที่ 17 กันยายน 2552 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบินไปยังเมืองเบรอโน

                - วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบิน

ไปยังกรุงปราก

                 - วันที่ 10 กันยายน 2553 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนเช็ก เป็นการส่วนพระองค์

                 - วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบิน

ไปยังเมืองคาร์โลวี วารี

                 - วันที่ 16 มีนาคม 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบิน                   

ไปยังกรุงปราก

                 - วันที่ 23 มิถุนายน 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบิน                   ไปยังเมืองปาร์ดูปิเช

                 - วันที่ 29 มิถุนายน 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบิน                    ไปยังเมืองคาร์โลวี วารี

                 - วันที่ 21 กรกฎาคม 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบิน                  ไปยังเมืองออสตราวา

                 - วันที่ 13 สิงหาคม 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบิน                     ไปยังกรุงปราก

                 - วันที่ 1 กันยายน 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบิน                     ไปยังเมืองเบรอโน

                 - วันที่ 9 กันยายน 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบิน                     ไปยังเมืองคาร์โลวี วารี

                 - วันที่ 14 กันยายน 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบินไปยังกรุงปราก                                                       

                 - วันที่ 21 มกราคม 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบินในลักษณะ Low approach ไปยังเมืองคาร์โรวี วารี

                 - วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบินในลักษณะ Touch and Go ไปยังเมืองออสตราวา

                  - วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบินในลักษณะ Touch and Go ไปยังกรุงปราก

                  - วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบินในลักษณะ Touch and Go ไปยังเมืองปาร์ดูบิเซ

                  - วันที่ 4 มีนาคม 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบินในลักษณะ Touch and Go ไปยังเมืองคาร์โรวี วารี

      - วันที่ 3 เมษายน 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบินในลักษณะ Touch and Go ไปยังเมืองคาร์โรวี วารี

     - วันที่ 6 มีนาคม 2556 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบิน                                   ผ่านน่านฟ้าเช็ก ในการเยือนสวีเดน-เบลเยียม

     - วันที่ 25 เมษายน 2556 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบิน                                ในลักษณะ Touch and Go ไปยังเมืองคาร์โรวี วารี

     - วันที่ 15 พฤษภาคม 2556 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบินในลักษณะ Touch and Go ไปยังเมืองคาร์โรวี วารี

                 - วันที่ 2 มิถุนายน 2556 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำการบินในลักษณะ Touch and Go ไปยังกรุงปราก

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

     - วันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนเช็ก เป็นการส่วนพระองค์

    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

     - วันที่ 16 - 21 พฤษภาคม 2543 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนเช็ก อย่างเป็นทางการ

     พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

     - วันที่ 14 – 15 เมษายน 2555 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จเยือนเมืองเชสกี

คลุมรอฟและกรุงปรากเป็นการส่วนพระองค์

    - วันที่ 9 - 11 ตุลาคม 2556 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จไปทรงร่วมการประชุม

ระหว่างเอกอัครราชทูตกลุ่มประเทศ Visegrád 4 ณ กรุงปราก

 

    นายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

     - วันที่ 6 - 7 พฤษภาคม 2546 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนเช็กอย่างเป็นทางการ

           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

    - วันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2556  พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เยือนเช็กอย่างเป็นทางการ

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

   - วันที่ 5-6 กันยายน 2556 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนเช็กอย่างเป็นทางการ และเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม   ว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ (JEC) ไทย-เช็ก ครั้งที่ 1

      3.2   ฝ่ายเช็ก

    ประธานาธิบดี / นายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

     - วันที่ 11 - 14 กุมภาพันธ์ 2537 นายวาสลาฟ ฮาเวล (Vaclav Havel) ประธานาธิบดี และภริยา เยือนไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

      - วันที่ 12 มีนาคม 2548 นายซีริล สโวโบดา (Cyril Svoboda) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศ เยือนจังหวัดภูเก็ต

      - วันที่ 22 – 24 มกราคม 2556 นายมาติน คูบา (Martin Kuba) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

อุตสาหกรรมและการค้า เยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อลงนามความตกลง            ว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ลงนามวันที่ 23 มกราคม 2556)



เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐเช็ก
คือ นางกฤษณา จันทรประภา เว็บลิงค์ >>> สถานเอกอัครราชทูต
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กประจำไทย คือ นายมิลัน เซดลาเชก (Milan Sedlacek)
เว็บลิงค์ >>> สถานเอกอัครราชทูต

กงสุลกิตติมศักดิ์เช็กในไทย สถานกงสุล ณ จังหวัดเชียงใหม่ และ สถานกงสุล ณ จังหวัดภูเก็ต

ปรับปรุงเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2557



กองยุโรป 3 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5142 Fax. 0 2643 5141 E-mail : [email protected]

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ