สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕

สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕

วันที่นำเข้าข้อมูล 24 มี.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 มี.ค. 2565

| 2,801 view

สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์

วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๓๐ น.

ณ กระทรวงการต่างประเทศ และทาง Facebook Live

 

๑. ผลการเยือนปากีสถานของ รอง นรม./รมว.กต. (๒๒ - ๒๓ มี.ค. ๒๕๖๕)

  • รอง นรม./รมว.กต.เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศองค์การความร่วมมืออิสลาม ครั้งที่ ๔๘ (Council of Foreign Ministers of the Organisation of Islamic Cooperation : OIC-CFM 48) ณ กรุงอิสลามาบัด สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์
  • รนรม./รมว.กต.กล่าวถ้อยแถลง เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือ ความอดทนอดกลั้น และการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก เพื่อแก้ไขปัญหา เพราะสงครามไม่เป็นผลดีแก่ใคร เห็นว่า OIC ซึ่งมีประชากรประมาณ ๑.๕ พันล้านคนทั่วโลก สามารถมีบทบาทในการสร้างความแตกต่างในโลกได้อย่างมีนัยสำคัญ สร้างสันติภาพ ความสามัคคี และความยุติธรรมในโลก
  • ในระหว่างการประชุม รนรม./รมว.กต.ได้พบหารือทวิภาคีกับ รมว.กต.หลายประเทศ เช่น

- รมว.กต.บาห์เรน หารือแนวทางส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue – ACD) และความร่วมมือในระดับภูมิภาค
- รมว.กต.ซาอุดีอาระเบีย ส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี ภายหลังการปรับความสัมพันธ์เมื่อเดือน ม.ค. ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา รวมทั้งการกระชับความร่วมมือเพื่อแก้ไขความขัดแย้งต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ในยูเครน
- รมว.กต.อียิปต์ หารือแนวทางส่งเสริมการค้า การลงทุน การศึกษา และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อียิปต์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ ๒๗ หรือ COP27 ในปี ๒๕๖๕
- รมว.กต.คูเวต หารือความร่วมมือด้านพลังงาน ความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว และการจัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-คูเวต
- เลขาธิการองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ย้ำคำเชิญให้เลขาธิการ OIC เยือนไทย และแจ้งการมอบวัคซีคแอสตราเซเนกาจำนวน ๑ ล้านโดส  ให้เอธิโอเปีย

  • รนรม./รมว.กต.ยังได้พบกับตัวแทน นศ.ไทยในกรุงอิสลามาบัด และมอบของที่ระลึกที่นำมาจากไทยแก่ตัวแทนนักศึกษาไทยด้วย

 

๒. การปรับมาตรการเดินทางเข้าไทย

  • เมื่อวันที่ ๑๘ มี.ค. ๒๕๖๕ ศบค.ได้ปรับมาตรการเดินทางเข้า ปทท.ที่สำคัญ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เม.ย. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ดังนี้
  • ยกเลิกการแสดงผลตรวจ RT-PCR ที่ออกภายใน ๗๒ ชั่วโมงก่อนเดินทาง สำหรับการเดินทางเข้า ปทท.ในทุกมาตรการ โดยมาตรการตรวจหาเชื้อเมื่อมาถึง ปทท. ยังคงเดิม
  • สำหรับผู้ที่เข้า ปทท.ด้วยมาตรการ Test & Go และ Sandbox ต้องตรวจ RT-PCR เมื่อเดินทางถึง และตรวจ ATK ในวันที่ ๕
  • สำหรับผู้ที่เดินทางเข้า ปทท.ในรูปแบบกักตัว (Alternative Quarantine-AQ) ทั้งผู้ได้รับวัคซีนครบแล้วและไม่ครบ ลดระยะเวลากักตัวเหลือ ๕ วัน (จากเดิม ๗ และ ๑๐ วัน) โดยกำหนดให้ตรวจ RT-PCR จำนวน ๑ ครั้ง ในวันที่ ๕
  • ลดระยะเวลาที่ต้องพำนักในพื้นที่ Sandbox ก่อนอนุญาตให้เดินทางไปพื้นที่อื่น เหลือ ๕ วัน (จากเดิม ๗ วัน)
  • เพิ่มสนามบินหาดใหญ่ จ.สงขลา ในรายชื่อสนามบินที่สามารถเดินทางเข้า ปทท.จากต่างประเทศ จากเดิม ๗ แห่ง โดยสามารถเดินทางต่อไปยัง จ.สงขลา สุราษฎร์ธานี และกระบี่ เพื่อเข้าพักโรงแรมและรอผล RT-PCR ในวันที่ ๑
  • เพิ่มจุดผ่านแดนทางบกสำหรับการเข้า ปทท. แบบ Test and Go ที่ด่านวังประจัน จ.สตูล โดยสามารถลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass for Land Travel เมื่อมาตรการมีผลบังคับใช้

 

๓. พิธีเปิดตัวตราสัญลักษณ์ครบรอบ ๗๕ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – อินเดีย (๒๑ มี.ค ๒๕๖๕)

  • รนรม./รมว.กต.และ ออท.อินเดีย/ปทท.เป็น ปธ.ร่วมจัดพิธีเปิดตัวตราสัญลักษณ์เนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – อินเดีย ณ ไอคอนสยาม
  • กต.และ สอท.อินเดีย/ปทท.ร่วมกันจัดประกวดตราสัญลักษณ์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดของสองประเทศ และการฉลองครบรอบ ๗๕ ปี ความสัมพันธ์ในปี ๒๕๖๕ มีผลงานส่งเข้าประกวดรวมทั้งสิ้น ๗๙๘ ผลงาน  มีผู้ชนะรางวัล ๓ ราย ได้แก่ (๑) นางสาวชนิดา เหงขุนทด จากไทย (๒) นาย จี. ชาฮิดาร์ เร็ดดี้ (G. Shahidhar Reddy) จากอินเดีย และ (๓) นายสมชาย นิลแก้ว จากไทย
  • ตราสัญลักษณ์ที่ชนะเลิศ ได้รับแรงบันดาลใจจากผ้าขาวม้าและผ้าส่าหรีซึ่งถูกนำมาผูกรวมกันเพื่อสะท้อนความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้จัดกิจกรรมในสาขาต่าง ๆ ซึ่งจะจัดต่อเนื่องตลอดปี ๒๕๖๕ โดยหน่วยงานของทั้งสองฝ่าย

 

๔. การสัมมนาเจ้าหน้าที่สารนิเทศทั่วโลก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ (๒๑ มี.ค. ๒๕๖๕)

  • ปลัด กต.เป็น ปธ.การสัมมนา "เจ้าหน้าที่สารนิเทศทั่วโลก" ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะในการจัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารกับสาธารณชน และแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีระหว่าง สอท./สกญ.ไทยทั่วโลกกับ กต.ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในยุคดิจิทัลหรือ Digital Diplomacy รวมถึงการส่งเสริมการใช้ soft power ของไทย ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ เป็นกลยุทธ์สำคัญในประชาสัมพันธ์ประเทศไทยและขับเคลื่อนการต่างประเทศไทย
  • ผู้เข้าร่วมจาก สอท./สกญ. กรม/กอง ต่าง ๆ ของ กต.จำนวนกว่า ๑๐๐ คน เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องโดยผ่านการวิเคราะห์ รวดเร็ว เข้าใจง่ายและเหมาะสมกับสถานการณ์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นที่ตั้ง มุ่งเน้นผลประโยชน์ในการค้า การลงทุนให้กับประเทศ โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี ๒๕๖๕

 

๕. การทำหนังสือเดินทางสำหรับผู้มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี

  • กต.ขอชี้แจงระเบียบเกี่ยวกับเอกสารประกอบคำร้อง ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติเพื่อปกป้องผู้เยาว์จากการกระทำผิดกฎหมายในรูปแบบต่าง ๆ
  • กรณีผู้ขอหนังสือเดินทางมาพร้อมบิดามารดา ต้องใช้เอกสาร ได้แก่
    (๑) บัตรประชาชนฉบับจริงของผู้ขอหนังสือเดินทาง
    (๒) สูติบัตรฉบับจริงของผู้ขอหนังสือเดินทาง
    (๓) บัตรประชาชนฉบับจริงของทั้งบิดามารดา (หรือหนังสือเดินทางกรณีเป็นชาวต่างชาติ)
    (๔) เอกสารแสดงความสัมพันธ์และอำนาจปกครองบุตร เช่น ทะเบียนสมรส
  • กรณีบิดาหรือมารดามาเพื่อลงนามให้ความยินยอมเพื่อขอหนังสือเดินทางไม่ได้ ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม ได้แก่
    (๑) หนังสือยินยอมให้บุตรทำหนังสือเดินทาง
    (๒) กรณีเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ ที่บิดาและมารดาไม่มาแสดงตน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นพาเด็กมาทำหนังสือเดินทาง
  • กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของมารดา มารดาสามารถลงนามให้ความยินยอมฯ ได้ฝ่ายเดียว โดยแนบหนังสือรับรองการใช้อำนาจปกครองบุตรหรือคำให้การรับรองปกครองบุตร พร้อมบัตรประชาชนฉบับจริงของมารดา
  • กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า บิดาหรือมารดาที่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ตามบันทึกการหย่า เป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ ได้ฝ่ายเดียว พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดาหรือมารดาแล้วแต่กรณี
  • กรณีผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ โดยแนบหลักฐานทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรมและบัตรประชาชนฉบับจริง
  • กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต ให้ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ พร้อมแสดงมรณบัตรของฝ่ายที่เสียชีวิต
  • กรณีอื่น ๆ จำเป็นต้องมีคำสั่งศาลที่จะระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์นั้น
  • สามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของกรมการกงสุล https://consular.mfa.go.th/th/publicservice-category/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99

 

๖. มาตรการการเดินทางเข้ากัมพูชา (มีผลตั้งแต่ ๑๗ มี.ค. ๒๕๖๕)

  • กัมพูชาออกประกาศยกเลิกเงื่อนไขการแสดงใบรับรองผลตรวจโควิด-๑๙ แบบ RT-PCR ก่อนเดินทางถึงกัมพูชา เเละยกเลิกการตรวจ Rapid Test เมื่อเดินทางมาถึงกัมพูชา เฉพาะบุคคลที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนเเล้วเท่านั้น
  • สำหรับบุคคลที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน จะต้องเข้ากักตัวเป็นเวลา ๑๔ วัน       ในโรงแรมที่รัฐบาลกัมพูชากำหนด (State Quarantine) หรือในโรงแรมที่เลือกเองในโครงการ Alternative State Quarantine
  • ขณะนี้ กัมพูชากลับมาเปิดให้ขอ Visa on Arrival สำหรับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศทุกช่องทาง ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรากรณีอยู่ในกัมพูชาไม่เกิน ๑๔ วัน (สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา) หรือ ๓๐ วัน (สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตหรือราชการ) อยู่เเล้ว
  • ปัจจุบัน ไทยยังไม่อนุญาตให้มีการเดินทางข้ามเเดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา
  • ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก “Royal Thai Embassy, Phnom Penh” หรือทางเว็บไซต์ สอท. ณ กรุงพนมเปญ https://phnompenh.thaiembassy.org/th/content/faqs-covid19?cate=5d73ac5d15e39c46f4006ed0

 

๗. ความคืบหน้ากรณีเกิดพายุทอร์นาโดในสหรัฐฯ

  • เมื่อวันที่ ๒๒ มี.ค. ๒๕๖๕ ได้เกิดพายุทอร์นาโดที่มีระดับความเร็วลมที่ F1 ในหลายพื้นที่ (ความเร็วลมประมาณ ๑๒๐ - ๑๘๐ กม./ชม.) พาดผ่านรัฐเท็กซัส โอกลาโฮมา ลุยเซียนา และมิสซิสซิปปี ตามลำดับ สร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือน และมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
  • สอท. ณ กรุงวอชิงตัน ได้ตรวจสอบกับสมาคมคนไทย วัดไทย และชุมชนไทยในพื้นที่ ในชั้นนี้ ยังไม่มีรายงานว่า มีคนไทยเสียชีวิต สูญหาย ได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
  • หากมีความคืบหน้าประการใด สอท. จะรายงานให้ทราบในโอกาสต่อไป

 

๘. สอท. ณ กรุงปักกิ่ง จัดงานเทศกาลไทยภายใต้แนวคิด “Ancient Siam” หรือ สยามวันวาน (๑๙ - ๒๐ มี.ค. ๒๕๖๕)

  • สอท. ณ กรุงปักกิ่ง จัดงานเทศกาลไทยในกรุงปักกิ่ง ประจำปี ๒๕๖๕ ณ ทำเนียบ ออท. ณ กรุงปักกิ่ง ภายใต้แนวคิดหลัก “Ancient Siam” หรือสยามวันวาน โดยมี ออท. ณ กรุงปักกิ่งเป็น ปธ.ในพิธีเปิด
  • งานเทศกาลไทยเป็นงานเผยแพร่วัฒนธรรมไทยที่มุ่งเน้นต่อยอดความนิยมไทยในกลุ่มชาวจีน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายความหลากหลายของสินค้าไทยในตลาดผู้บริโภคจีนอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ มีการรวมตัวของร้านอาหารไทยทั่วกรุงปักกิ่ง
  • สอท.ได้เชิญ น.ส.พร้อมวิไล หลี่ศิริโรจน์ หรือ MiMi Lee และ น.ส.พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์ หรือ Nene นักร้องไทยชื่อดังในจีน ร่วมสนับสนุนประชาสัมพันธ์กิจกรรม เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักและชื่นชมของชาวจีนในวงกว้าง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดียิ่งจนเป็นกระแสได้ขึ้นติด TOP10 # ใน Weibo แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมอันดับ ๑ ของจีน 
  • งานเทศกาลไทยในกรุงปักกิ่ง ได้รับความสนใจอย่างมาก มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกว่า ๔,๐๐๐ คน ทั้ง ออท.ต่างประเทศ/จีน และคู่สมรส ผู้แทน กต.จีน ปธ.ศูนย์อาเซียน-จีน ผู้บริหารภาคเอกชนไทยในจีน สื่อมวลชนจีน ตลอดจนชุมชนไทยและชาวจีนในกรุงปักกิ่ง และยังมีผู้เข้าร่วมชมการถ่ายทอดสดบรรยากาศงานผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลรวมกว่า ๑๒.๖ ล้านครั้ง และมีผู้เข้าชมวิดีโอแคมเปญกิจกรรมในแอปพลิเคชัน Kuaishou (ไคว่โส่ว) รวมกว่า ๑๒๐ ล้านการรับชม

 

๙. การถ่ายทอดพิธีเปิดโครงการไทยภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ทาง Facebook Live (๒๔ มี.ค. ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น.)

  • กต.ร่วมกับ สอท.จีน/ประเทศไทย จัดพิธีเปิดโครงการของไทย (Launching Ceremony) ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง สัปดาห์ความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี ๒๕๖๕
  • ๑๓ โครงการของไทย ได้รับทุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง จาก ๕ หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ทั้งหมดเป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทยและประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
  • ผู้สนใจสามารถชมย้อนหลังได้ทาง Facebook live ของ กต.

 

๑๐. นิทรรศการออนไลน์ Thailand Virtual Exhibition (๒๖ มี.ค. ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น.)

  • กรมความร่วมมือ รปท. กต. เชิญชมการเปิดตัวนิทรรศการออนไลน์ Thailand Virtual Exhibition ซึ่งประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน Global South-South Development Expo 2022 (GSSD Expo 2022) ภายในงานจะมีมินิคอนเสิร์ตโดยทอม อิศรา และมีกิจกรรมเพื่อให้ผู้ชมลุ้นรับของรางวัลได้ทางหน้าจอของท่าน
  • ผู้สนใจสามารถเข้าชมงานผ่านทางเฟซบุ๊ก “Thaidevelopmentexpo” ในวันที่ ๒๖ มี.ค. ๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น.

 

๑๑. กิจกรรมเสวนา “Intergenerational Dialogue on SDG 4 in the context of COVID-19 Recovery and Sharing Youth’s Perspective on Building Back Better” (๒๘ มี.ค. ๒๕๖๕ เวลา๑๒.๔๕ - ๑๔.๐๐ น.)

  • กต.จะจัดกิจกรรมคู่ขนานการประชุม Asia-Pacific Forum on Sustainable Development ครั้งที่ ๙ ในรูปแบบของการเสวนา Intergenerational Dialogue on SDGs ในหัวข้อ Advancing SDG 4 in the context of  COVID-19 Recovery and Sharing Youth’s Perspective on Building Back Better
  • การเสวนาจะเป็นเวทีระดมสมองและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างเยาวชนกับผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ ๔ (การศึกษาที่มีคุณภาพ) ท่ามกลางบริบทความท้าทายจากวิกฤตโควิด-๑๙
  • การเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ ปธ.คณะอนุกรรมการพลังเยาวชนขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นผู้กล่าวเปิด โดยมีผู้ร่วมการเสวนา ได้แก่ ดร.ธัชไท กีรติพงศ์ไพบูลย์ ผอ. กองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สภาพัฒน์ฯ คุณเอริกา เมษินทรีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์ม Youth in Charge รวมทั้งผู้แทนเยาวชนชาวไทยและผู้แทนเยาวชนที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้สนใจสามารถชมได้ทาง Facebook live ของ กต.

 

๑๒. รายการบันทึกสถานการณ์ และ MFA Update 

  • วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มี.ค. ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๐๘.๔๕ น. รายการ “บันทึกสถานการณ์” ทาง FM 92.5 (ภาษาไทย) ได้สัมภาษณ์นายพจน์ หาญพล ออท. ณ กรุงโคลัมโบ หัวข้อ “โอกาสทางการค้า การลงทุนของไทยในศรีลังกา/การคุ้มครองคนไทยในศรีลังกา”  สามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง youtube “MFA Thailand Channel”
  • วันศุกร์ที่ ๒๕ มี.ค. ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๐๕ - ๐๘.๒๐ น. รายการ “MFA Update” FM 88.0 (ภาษาอังกฤษ) จะสัมภาษณ์นางมาฆวดี สุมิตรเหมาะ ออท. ณ กรุงธากา หัวข้อ "50th Years of Friendship and Cooperation: Thailand and Bangladesh" สามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง youtube “MFA Thailand Channel”

 

๑๓. การสัมมนารูปแบบ Metaverse หัวข้อ “โอกาสสำหรับประเทศไทยจาก Metaverse และสินทรัพย์ดิจิทัล” โดย สกญ. ณ นครลอสแอนเจลิส (๑๕ มี.ค. ๖๕)

  • สกญ. ณ นครลอสแอนเจลิส ได้จัดการสัมมนาในรูปแบบ Metaverse หรือ Metaverseminar         ในหัวข้อ “โอกาสสำหรับประเทศไทยจาก Metaverse และสินทรัพย์ดิจิทัล” ผู้บริหารจากบริษัท Zipmex บริษัท Gala Games และ Chiang Mai Crypto City ได้ร่วมสนทนาและให้ความรู้เกี่ยวกับโอกาสที่ไทยจะได้รับจาก Metaverse ความสำคัญของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลจาก Crypto สู่ Metaverse และพัฒนาการของอุตสาหกรรมเกมส์และอีสปอร์ต รวมทั้งยังได้แลกเปลี่ยนทัศนะในช่วงเสวนาและช่วงถาม-ตอบ ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
  • การสัมมนาในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมชมทั้งจาก ปทท. สหรัฐฯ และจากนานาประเทศกว่า ๔,๐๐๐ ราย ท่านสามารถรับชมคลิปวิดีโอย้อนหลังได้ทาง youtube https://youtu.be/CKTM--cxcQc

 

๑๔. รายการเวทีความคิด

  • วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มี.ค. ๒๕๖๕ เวลา ๒๐.๓๐ - ๒๐.๕๔ น. รายการ “เวทีความคิด” ช่วงสายตรงจาก กต.จะสัมภาษณ์นายชัยรัตน์ ศิริวัฒน์ กสญ. ณ เมืองดูไบ หัวข้อ “ไทยในเวทีโลก ปี ๒๕๖๕ : ดูไบเอ็กซ์โป (อาคารแสดงประเทศไทย)” สามารถรับฟังได้ทาง FM 96.5 หรือรับฟังย้อนหลังทาง youtube “MFA Thailand Channel”

 

๑๕. รายการ Spokesman Live!!!

  • วันศุกร์ที่ ๒๕ มี.ค. ๒๕๖๕ เวลา ๒๐.๐๐-๒๐.๓๐ น. ขอเชิญติดตามรายการ คุยรอบโลกกับโฆษก กต. - Spokesman Live!!! ในโฉมใหม่ จะสัมภาษณ์นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธ. กรมเศรษฐกิจ รวปท. หัวข้อ “คลี่ประเด็นการเป็นเจ้าภาพ APEC ของไทย” สามารถติดตามชมได้ที่ Facebook “กระทรวงการต่างประเทศ” และ “Saranrom Radio”

 

รับชมแถลงข่าวย้อนหลังhttps://www.facebook.com/ThaiMFA/videos/4788713064589084

คลิปแถลงข่าว: ช่อง Youtube “MFA Thailand Channel”: https://www.youtube.com/user/mfathailand

 

                                                                                                        กองการสื่อมวลชน

                                           กรมสารนิเทศ

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

เอกสารประกอบ

pwp_ประกอบการแถลงข่าว_24_มีค._2565_as_delivered.pdf