๑. บุกตลาดสหรัฐฯ เปลี่ยนขยะเป็นขุมทรัพย์
เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ ท่านทูตพิศาล มาณวพัฒน์ และทีมประเทศไทย อท. อดิศร พร้อมเทพ สำนักงานเกษตร อทป. กฤษดา ธาราสุข สำนักงานวิทยาศาสตร์ และ อทป. พีระพัฒก์ อุทัยศรี สำนักงานพาณิชย์ ได้เดินทางไปบริษัท Wongpanit Recycling Company (WPN) ที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ บริษัทไทยที่ดำเนินกิจการคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล พบกับผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร ได้แก่ คุณสัมฤทธิ์ เดชเดชานุกุล (ผู้ก่อตั้ง) คุณกรองทิพย์ โสมาลา (ภรรยา) คุณกรกช เดชเดชานุกุล (ผู้บริหาร) คุณสุกานดา บุพพานนท์ (ที่ปรึกษา) คุณวิชิต หิรัญกิจ (ที่ปรึกษา) และคุณธวัชชัย มีศรี (ที่ปรึกษา)
เดิมทีคุณสัมฤทธิ์ประกอบธุรกิจร้านอาหาร และประสบปัญหาการกำจัดขยะและของเหลือใช้จำพวกตู้เย็นเก่าและลังกระดาษที่ต้องเสียเงินจ้างคนมารับขยะไปทิ้ง จึงคิดหาทางออกเพื่อลดต้นทุน
คุณสัมฤทธิ์ได้พบข้อมูลของบริษัทวงษ์พาณิชย์ บริษัทรีไซเคิลของไทย ก่อตั้งโดย ดร. สมไทย วงษ์เจริญ ที่เปิดฝึกอบรม ดูงานด้านการจัดการขยะแบบครบวงจร จึงได้เข้าร่วมฝึกอบรมจนในที่สุดได้เปิดโรงงานของตนเองขึ้นที่เมืองบัลติมอร์ ปัจจุบันดำเนินธุรกิจได้ ๕ ปี มีคนงาน ๑๓ คน มีลูกค้าเข้าคิวนำขยะมาเสนอขายแบบไม่ต้องหาลูกค้า ทั้งกระดาษ กระป๋อง แก้ว โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟ คอมพิวเตอร์เก่า เพียงคัดแยกและส่งป้อนโรงงานรีไซเคิลทั้งในสหรัฐฯ ไทย จีน ขณะนี้กำลังพัฒนาและมีโครงการขยายธุรกิจเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ WPN ยังมีโครงการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะและเปิดให้บุคคลภายนอกศึกษาดูงานเพื่อสามารถตั้งธุรกิจของตนเองได้ ซึ่งท่านทูตพิศาลชื่นชมดำเนินธุรกิจและยังแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่นอย่างที่ได้รับจาก ดร. สมไทยฯ ทั้งนี้ สถานทูตพร้อมให้การสนับสนุน โดยหากบริษัทไทยประสบปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรม สถานทูตจะประสานหารือกับรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อรักษาผลประโยชน์คนไทย
บริษัท WPN ถือกำเนิดขึ้นจากความเชื่อว่า “โลกนี้ไม่มีขยะ” ขยะที่ผู้คนตั้งชื่อให้นั้นความจริงแล้วก็คือสินค้าอีกอย่างหนึ่งที่เรายังสามารถนำมาคัดแยกเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตของใช้ใหม่ได้
ธุรกิจประเภทคัดแยกขยะ และธุรกิจรีไซเคิลขยะนั้น นอกจากทำรายได้อย่างดีแล้วยังเป็นการช่วยเหลือสังคมด้วยการลดการใช้ทรัพยากรและใช้อย่างคุ้มค่า ที่สำคัญเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องกังวลถึงการแย่งชิงส่วนแบ่งของตลาด เพราะอย่างไรเสียก็จะมีขยะใหม่เกิดขึ้นและจะมีปริมาณมากขึ้นทุกวัน
๒. ปูทาง “Second Generation” สู่กรุงวอชิงตัน
สถานทูตไทยได้ริเริ่มโครงการฝึกงานเพื่อนักศึกษาไทย-อเมริกัน (Thai American National Internship Program: TANIP) เพื่อสร้างความสนใจและเข้าใจของเยาวชนไทย-อเมริกันในการเมืองสหรัฐฯ อันจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเมืองสหรัฐฯ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนไทยในสหรัฐฯ ในระยะยาว และมีบทบาทสนับสนุนและปกป้องผลประโยชน์ของชุมชนไทย-อเมริกันในอนาคต
ในปีนี้ ได้จัดกิจกรรมต่างๆในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน ระหว่าง ๒๕ พ.ค.– ๕ ก.ค. ๒๕๕๘ โดยสถานทูตร่วมกับ U.S. – Asia Institute ดำเนินโครงการครั้งนี้ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งหมด ๖ คน มาจากมลรัฐนิวยอร์ก มลรัฐอิลลินอยส์ มลรัฐวอชิงตัน มลรัฐจอร์เจีย มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ และมลรัฐเวอร์จิเนีย โดยได้รับการสนับสนุนจากชุมชนไทยในพื้นที่ตามมลรัฐต่าง ๆ
ในช่วงสัปดาห์แรก เป็นการ orientation น้อง ๆ ได้มีโอกาสไปรับฟังการบรรยายสรุปจากภาคส่วนต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ รวมทั้งภาควิชาการ อาทิ เข้าร่วมสังเกตการณ์การหารือการประชุมของทูตอาเซียน ๑๐ ชาติ ณ สถานทูต พบปะกับเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตร กระทรวงการคลัง USTR รวมทั้ง Center for Strategic and International Studies (CSIS), Stimson Center, US- ASEAN Business Council (USABC), US Chamber of Commerce และพบปะกับเจ้าหน้าที่ของศาลฎีกาสหรัฐฯ ด้วย
นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่สถานทูตจัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และการมีส่วนร่วมของชุมชนในย่านกรุงวอชิงตัน อาทิ เข้าร่วมพิธีทางพุทธศาสนาในวันวิสาขบูชา ณ วัดญาณรังษี (๓๑ พ.ค. ๕๘) เข้าร่วมรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงโดย อ.Geffroey Longfellow ผู้อำนวยการมูลนิธิมั่นพัฒนา ณ สถาบัน U.S – Asia Institute (๕ มิ.ย. ๕๘) รวมทั้งรับฟังและแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับบทบาทวัดไทยกับชุมชนไทยและเข้าร่วมทำบุญ ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน (๑๔ มิ.ย. ๕๘)
ในช่วงสามสัปดาห์ถัดมา เป็นช่วงที่น้องๆ นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกงานในสถานที่ต่าง ๆ อาทิ สำนักงานของ ส.สThink Tank และ USABC นอกจากนี้ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของโครงการ นักศึกษาเหล่านี้จะได้เข้าร่วมฝึกงานกับสำนักงานต่าง ๆ ของทางสถานทูต อาทิ สำนักงานผู้ช่วยทูตทหารอากาศ สำนักงานพาณิชย์ฯ สำนักงานวิทยาศาสตร์ฯ
สำหรับผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าร่วมโครงการ ก็ไม่ต้องเป็นห่วง ทางสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนได้ให้ความอนุเคราะห์น้อง ๆ ในการพำนักในหอพักสำหรับนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของทางสำนักงานฯ ซึ่งมีราคาประหยัด โดยการพักอาศัยในหอพักร่วมกันนั้น ยังได้มีส่วนหล่อหลอมความสัมพันธ์และมิตรภาพระหว่างกลุ่มนักศึกษาด้วยกันเองอีกด้วย นอกจากนี้ทางสถานทูตยังได้ติดต่อบริการส่งอาหารกล่องซึ่งมีรสชาดไทยแท้ให้กับน้อง ๆ ได้รับประทานกันในมื้อเย็น ทำให้หายคิดถึงบ้านไปได้ชั่วขณะ
เป็นที่น่ายินดีที่น้องๆ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ นี้สามารถสื่อสารภาษาไทยได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังคงรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีแบบไทยอยู่ ซึ่งก็ต้องขอชื่นชมคุณพ่อและคุณแม่ที่สามารถอบรมเลี้ยงดูให้น้อง ๆ คงความเป็นไทยไว้ได้ท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมอเมริกัน
การเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ทำให้น้อง ๆ ได้เห็นคุณค่าและความภูมิใจในความเป็นไทยซึ่งเป็นสิ่งพิเศษสำหรับน้อง ๆ เหล่านี้ที่เป็นไทย-อเมริกัน การที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ยังมีส่วนช่วยผลักดันและจุดประกายให้น้อง ๆ ได้รับรู้ความเป็นคนพิเศษของเขาซึ่งมิใช่ทุกคนจะได้รับโอกาสเช่นนี้
พวกเราในฐานะผู้ประสานงานและดูแลโครงการ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนไทยในสหรัฐฯ ในระยะยาว และมีบทบาทสนับสนุนและปกป้องผลประโยชน์ของชุมชนไทย-อเมริกันในอนาคต รวมทั้งยังเป็นช่องทางการขยายการติดต่อระหว่างเยาวชนจากมลรัฐต่าง ๆ และส่งต่อไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย
ทั้งนี้สามารถติดตามกิจกรรมของน้อง ๆ นักศึกษาในระหว่างการเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม ได้ที่
•http://thaiembdc.org/2015/06/09/tanip-summer-2015-by-justin-cobkit/
•http://thaiembdc.org/2015/06/10/3420/
•http://thaiembdc.org/2015/06/16/natchaya-may-vutrapongvatana-first-week-experience-by-thai-american-second-generation-in-washington-dc/
•https://www.facebook.com/thaiamericandc
๓. Promoting Buddhism and raising awareness of International Day of Visakha
Visakha Puja Day, or Vesak Day as traditionally known by Sri Lankans, is one of the most important days in Buddhism and for Buddhists. It marks the anniversary of three significant events in the life of the Buddha – His Birth, Enlightenment, and Attainment of Complete Nibbana – that occurred on the full moon of the sixth lunar month, or during May each year.
On 15 December 1999, proposed by representatives of Bangladesh, Bhutan, Cambodia, India, the Lao People’s Democratic Republic, Maldives, Mongolia, Myanmar, Nepal, Pakistan, the Philippines, Republic of Korea, Spain, Sri Lanka, Thailand and Ukraine, the General Assembly of the United Nations officially gave, through its resolution 54/115 of 1999, international recognition of the Day of Vesak.
“The spirit of Vesak can help to animate a global response to the challenges of our day. As the United Nations works for the adoption this year of a set of new sustainable development goals and a meaningful new agreement on climate change, we would do well to heed the Buddhist teaching that life and the environment are essentially one”, Secretary-General Ban Ki-moon onDay of Vesak, 1 June 2015.
Buddhism is among the five largest religious groups by world population, namely Christianity, Islam, Hinduism, Buddhism and Folk religion. According to the “Global Religious Landscape” research by the Pew Research Center’s Forum on Religion & Public Life, percentage of the global population of major religious groups in 2010 are as follows; Christians – 31.5%, Muslim – 23.2%, Hindus – 15%, Buddhists – 7.1%, Folk religionists – 5.9%, Jews – 0.2%, Other religions – 0.8% and Unaffiliated – 16.3%.
With the importance of Buddhism both in its own merit and in global perspective, the embassy had recently welcomed a visit of a group of Buddhist monks from Sri Lanka, Laos and Thailand (from Wat Thai Washington, D.C.), a professor of Eastern Religions and Baptist chaplain from George Washington University and discussed about collaborative efforts to promote Buddhism as well as raising awareness of the International Day of Visakha. During the discussion, it was agreed that Buddhist traditions, especially the observance of Visakha holiday, should also be celebrated at the White House, in same manner as Christian (Thanksgiving / Christmas), Muslim (Iftar Dinner during Ramadan), Hindu (Diwali) and Jewish (Passover Seder) traditions have been celebrated there.