การพัฒนาพื้นที่ชายแดน...สู่ประชาคมลุ่มน้ำโขงที่เชื่อมโ่ยงกัน

การพัฒนาพื้นที่ชายแดน...สู่ประชาคมลุ่มน้ำโขงที่เชื่อมโ่ยงกัน

วันที่นำเข้าข้อมูล 11 ก.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 3,487 view

"การพัฒนาพื้นที่ชายแดน... สู่ประชาคมลุ่มน้ำโขงที่เชื่อมโยงกัน"

ถึงวันนี้ คงไม่มีใครไม่รู้จักอาเซียน และการรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกัน เมื่อปี 2558

แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีความร่วมมือระหว่างประเทศอีกกลุ่ม ที่ไทยเป็นสมาชิกและเป็นผู้ริเริ่ม ตั้งแต่เมื่อปี 2546

นั่นคือ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา - แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya -Mekong Economic Cooperation Strategy) หรือ “ACMECS”

“แล้วแม่น้ำสำคัญ 3 สายนี้ ไหลผ่านประเทศอะไรกันบ้าง?”

                   แม่น้ำอิรวดีไหลผ่านเมียนมา แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านไทย ส่วนแม่น้ำโขงไหลผ่านทั้งไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ดังนั้น ประเทศสมาชิกของ ACMECS จึงมีทั้งหมด 5 ประเทศ คือ เมียนมา ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม นั่นเอง!

  ลองมาดูความฝันที่จะเดินทาง

ไปท่องเที่ยว 5 ประเทศทั่วภูมิภาค ด้วยถนนที่ลัดเลาะข้ามประเทศได้ถึงกัน เช่น เส้นทางหมายเลข 9 เชื่อมโยงไทย –

ลาว - เวียดนาม ทำให้เราสามารถกินอาหารเช้า ที่จังหวัดมุกดาหาร แล้วผ่านไปกินอาหารกลางวัน ที่แขวงสะหวันนะเขต ในลาว และพอตกเย็นก็แวะไปกินอาหารเย็น ที่จังหวัดกวางจิ ในเวียดนามได้ หรือจะเลือกไปทางเส้นทางหมายเลข 3

ก็ได้ เพราะเชื่อมโยงไทย – ลาว - จีน เหมือนกัน แถมยังมี ACMECS Single Visa คือ การขอวีซ่าแค่ครั้งเดียวแต่ไปได้

ทุกประเทศ เหมือนวีซ่าเชงเก้นของยุโรป และโครงการยกระดับเครือข่ายรองรับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและการพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้าให้ทั่วถึงด้วย

                   งานนี้เราจะได้เล่นเน็ตไว มีไฟสว่าง เดินทางสะดวก สมกับเป็น ACMECS ยุคดิจิทัลจริง ๆ

 

“กลไกการทำงานของ ACMECS มีอะไรบ้าง?”

  • การประชุมผู้นำ  จัดทุก 2 ปี เพื่อคุยกันว่า จะจับมือกันไปทำอะไรและมุ่งหน้าไปไหน

มีเอกสารผลการประชุมไว้อ้างอิงว่า ตกลงกันไว้อย่างไร

  • การประชุมรัฐมนตรี  มีกระทรวงการต่างประเทศเป็นแม่งาน
  • การประชุมระดับเจ้าหน้าที่และคณะทำงาน  เป็นผู้ลงมือปฏิบัติในรายละเอียด

 

ACMECS มีขึ้น เพื่ออะไร?”

ไทยได้ริเริ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้ เพื่อใช้เป็นกลไกในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ

บริเวณชายแดนของทั้ง 5 ประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการเกษตร

เพราะไทยตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างกลุ่ม 5 ประเทศนี้ และต้องการสนับสนุนให้ประเทศเพื่อนบ้านของเรามีการพัฒนามากขึ้น รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น เพื่อให้เกิดความมั่นคงและมั่งคั่งร่วมกัน

                   ความร่วมมือภายใต้ ACMECS มีหลายสาขาที่เป็นประโยชน์กับประชาชนส่วนใหญ่ของทุกประเทศ เช่น เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม แต่สาขาที่โดดเด่นและใกล้ตัวเรามากที่สุด

คือ การเชื่อมโยงคมนาคม หรือ ‘Connectivity’ เพราะการมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกจะช่วยให้เราเดินทาง

ไปมาหาสู่กันได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ทำให้ต้นทุนการขนส่งต่าง ๆ ลดลงตามไปด้วย

 

“เราเชื่อมโยงอะไรกันบ้าง มีโครงการเชื่อมโยงที่ชัด ๆ หรือไม่?”

  • มิติด้าน hardware หมายถึง โครงสร้างต่าง ๆ พวกถนน สะพาน และทางรถไฟ เช่น

โครงการยกระดับเส้นทางหมายเลข 12 จากเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน (ลาว) ถึงด่านนาพาว ที่ชายแดนลาว - เวียดนาม

และการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมบ้านเชียงแมนและหลวงพระบาง

  • มิติด้าน software หมายถึง กฎระเบียบที่อำนวยความสะดวกให้เราใช้ประโยชน์จาก

hardware ได้อย่างเต็มที่ พวกกฎระเบียบในการข้ามแดนและพิธีการศุลกากร เช่น โครงการจัดทำข้อตกลงและกฎระเบียบการขนส่งข้ามพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิกให้สอดคล้องกัน (ACMECS Single Window Transport Cooperation)

 

 

ถึงตอนนี้ ถ้ายังไม่เห็นภาพ “ประชาคมลุ่มน้ำโขงที่เชื่อมโยงกัน"  ลองมาดูความฝันที่จะเดินทาง

ไปท่องเที่ยว 5 ประเทศทั่วภูมิภาค ด้วยถนนที่ลัดเลาะข้ามประเทศได้ถึงกัน เช่น เส้นทางหมายเลข 9 เชื่อมโยงไทย –

ลาว - เวียดนาม ทำให้เราสามารถกินอาหารเช้า ที่จังหวัดมุกดาหาร แล้วผ่านไปกินอาหารกลางวัน ที่แขวงสะหวันนะเขต ในลาว และพอตกเย็นก็แวะไปกินอาหารเย็น ที่จังหวัดกวางจิ ในเวียดนามได้ หรือจะเลือกไปทางเส้นทางหมายเลข 3

ก็ได้ เพราะเชื่อมโยงไทย – ลาว - จีน เหมือนกัน แถมยังมี ACMECS Single Visa คือ การขอวีซ่าแค่ครั้งเดียวแต่ไปได้

ทุกประเทศ เหมือนวีซ่าเชงเก้นของยุโรป และโครงการยกระดับเครือข่ายรองรับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและการพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้าให้ทั่วถึงด้วย

                   งานนี้เราจะได้เล่นเน็ตไว มีไฟสว่าง เดินทางสะดวก สมกับเป็น ACMECS ยุคดิจิทัลจริง ๆ

 

“กลไกการทำงานของ ACMECS มีอะไรบ้าง?”

  • การประชุมผู้นำ  จัดทุก 2 ปี เพื่อคุยกันว่า จะจับมือกันไปทำอะไรและมุ่งหน้าไปไหน

มีเอกสารผลการประชุมไว้อ้างอิงว่า ตกลงกันไว้อย่างไร

  • การประชุมรัฐมนตรี  มีกระทรวงการต่างประเทศเป็นแม่งาน
  • การประชุมระดับเจ้าหน้าที่และคณะทำงาน  เป็นผู้ลงมือปฏิบัติในรายละเอียด

“รู้หรือยัง?  ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งต่อไป”

ชาวไทยทุกคนสามารถร่วมเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 8

ระหว่างวันที่ 15 - 16 มิถุนายน 2561 ที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นกำลังใจสู่การพัฒนาเป็นประชาคมลุ่มน้ำโขงที่เชื่อมโยงกัน

 

---------------------------------------------------------------------------