ผลการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ โดยอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ น. ผ่านการถ่ายทอดสด Facebook Live จากกระทรวงการต่างประเทศ

ผลการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ โดยอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ น. ผ่านการถ่ายทอดสด Facebook Live จากกระทรวงการต่างประเทศ

วันที่นำเข้าข้อมูล 28 ม.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 2,606 view

๑. สารแสดงความยินดีของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่อการแต่งตั้งนาย Antony Blinken เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และผลการหารือทางโทรศัพท์ ระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา

  • เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๔ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือแสดงความยินดีถึงนายบลิงเคน โดยกล่าวถึงการเข้ารับตำแหน่งของนายบลิงเคนในช่วงเวลาสำคัญที่ทั่วโลกกำลังเผชิญความท้าทายหลายประการ และบทบาทนำของสหรัฐฯ ในการนำเสถียรภาพ สันติภาพ และความรุ่งเรืองกลับมาสู่ประชาคมระหว่างประเทศ บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นและเคารพซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งแสดงความเชื่อมั่นว่านายบลิงเคนจะมีบทบาทสำคัญในการดำเนินภารกิจดังกล่าวของสหรัฐฯ โดยในฐานะประเทศคู่ภาคีสนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย ไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับนายบลิงเคนและสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างเสถียรภาพ สันติภาพ และความรุ่งเรืองในประชาคมระหว่างประเทศ และได้แสดงความเชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศจะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นภายใต้บทบาทสำคัญของนายบลิงเคนในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เน้นว่า ไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างเสถียรภาพ สันติภาพ และความรุ่งเรืองในประชาคมระหว่างประเทศ และได้เชิญนายบลิงเคนเดินทางเยือนประเทศไทยในโอกาสที่จะเดินทางเยือนภูมิภาคต่อไป เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นที่มีร่วมกันต่อ มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก(ASEAN Outlook on Indo-Pacific: AOIP) ซึ่งไทยมีส่วนร่วมจัดทำ และแสดงความเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศจะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
  • นอกจากนี้ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ ช่วงเช้า นาย Antony Blinken รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้โทรศัพท์หารือกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย หลังการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ โดยได้หารือถึงแนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ยาวนานและความร่วมมือที่ครอบคลุมหลากหลายมิติระหว่างไทยกับสหรัฐฯ รวมถึงการรับมือกับการแพร่ระบาดของ
    โควิด-๑๙ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับอาเซียน ความมั่นคง
    ทางไซเบอร์ และประเด็นที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง อาทิ การต่อต้านการค้ามนุษย์ สิทธิมนุษยชน
    การดูแลแรงงานต่างด้าว นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้กล่าวถึงวาระการเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคของไทยในปี ๒๕๖๕ และได้ย้ำคำเชิญนายบลิงเคนเยือนประเทศไทยด้วย

สารแสดงความยินดี

  • H.E. Mr. Don Pramudwinai, Deputy Prime Minister and Minister of Foreign Affairs of Thailand, has sent a congratulatory letter to Secretary Blinken on the occasion that the Honorable Antony Blinken sworn in as the United States Secretary of State.
  • In his letter, the Deputy Prime Minister and Minister of Foreign Affairs extended his most sincere and warmest congratulations on Secretary Blinken’s appointment as Secretary of State at this critical juncture in world affairs. He emphasized the United States’ mission to lead the world back to stability, peace and growth via prudence, mutual trust, mutual respect, and shared interests.
  • The Deputy Prime Minister and Minister of Foreign Affairs expressed Thailand’s readiness as the oldest treaty partner of the United States in Asia, to collaborate closely and constructively with Secretary Blinken and with the United States in this endeavour. He is confident that the long-standing Thailand-United States bilateral cooperation will be further fostered and strengthened.
  • The Deputy Prime Minister and Minister of Foreign Affairs extended an invitation for Secretary Blinken to visit Thailand during his regional visit in the future, to solidify our mutual commitment to the “ASEAN Outlook on Indo-Pacific” (AOIP) which Thailand helped craft.

 

.  การรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ และการดำเนินการจัดหาวัคซีนของไทย

  • สถาบันวิจัย Lowy Institute ของออสเตรเลีย ได้จัดให้ไทยอยู่ในอันดับ ของประเทศหรือพื้นที่ที่สามารถจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ได้ดีที่สุดในโลก โดยมีนิวซีแลนด์ อยู่ในอันดับที่ ๑ ตามมาด้วยเวียดนามและไต้หวัน การจัดอันดับดังกล่าวประมวลจากจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมในแต่ละประเทศ อัตราการเสียชีวิต และอัตราการตรวจหาเชื้อ รวมถึงความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจของประชาชนต่อรัฐบาลในประสิทธิภาพต่อการจัดการกับโรคระบาด
  • Thailand’s vaccine procurement plan:
  • The Thai authorities attach highest priority to the safety and quality of the vaccines as well as timeliness in procurement. All vaccines must be approved by the Thai Food and Drug Administration (FDA) before administering inoculations to the population.
  • Thailand has negotiated with all potential vaccine manufacturers and does not have a policy to rely on any sole candidate. Rather, our policy is to procure safe and quality vaccines from manufacturers who are also able to accept Thailand’s terms for procurement.
  • AstraZeneca reviewed many companies in Thailand and found that Siam Bioscience had the potential to receive technology transfer for the manufacturing of viral vector vaccines. Another condition set by AstraZeneca was that the partner company should be capable of producing at least 200 million doses per year, and Siam Bioscience also fulfilled this requirement.
  • The arrangement with AstraZeneca to provide vaccines to Thailand and the selection of Thailand as a distribution centre for its vaccines to countries in Southeast Asia are based on the principle of “no profit, no loss.” It is not a matter of making profits, but of the genuine intent to produce vaccines for wide distribution, in order to strengthen Thailand and the region’s vaccine security.
  • The Cabinet has approved budget for the National Vaccine Institute to support research and development of vaccines in Thailand. This budget is allocated to all manufacturers who have the potential to develop vaccines in cooperation with the government. Apart from Siam Bioscience, recipients include Baiya Phytofarm and Chulalongkorn University. In addition, the National Science and Technology Development Agency is currently developing a vaccine with Siam Bioscience, which would enable Thailand to produce a vaccine throughout the whole supply chain.
  • As of 26 January 2021, Thailand has ordered 61 million doses of vaccine from AstraZeneca and 2 million doses from Sinovac. The Director of the National Vaccine Institute emphasised that there will be sufficient vaccines and that they will be rolled out with priority given to the most vulnerable groups of our society.

 

๓. ผลการหารือของปลัดกระทรวงการต่างประเทศกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศเพื่อนบ้าน

  • ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือผ่านระบบการประชุมทางไกลกับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศเพื่อนบ้านของไทยทั้ง ๔ ประเทศ ได้แก่ เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ผลการหารือที่สำคัญ ดังนี้

(๑) การหารือกับนายชาน เอ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา

ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันส่งเสริมความมั่นคงตามแนวชายแดน และแก้ปัญหาข้ามแดนต่าง ๆ เช่น หมอกควัน การค้ามนุษย์ การลักลอบขนคนเข้าเมือง ยาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งร่วมมือกันควบคุมการแพร่ระบาดและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาด เพื่อให้ทั้งสองประเทศสามารถฟื้นฟูไปด้วยกัน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความช่วยเหลือการรับมือกับการแพร่ระบาด โดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่า รัฐบาลไทยจะดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานเมียนมาในประเทศไทย

(๒) การหารือกับนางตวด ปัญญา ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา

ทั้งสองฝ่ายหารือประเด็นความร่วมมือบริเวณชายแดนและการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังการแพร่ระบาด อาทิ การยกระดับจุดผ่านแดนเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าชายแดน การป้องกันการลักลอบข้ามแดน การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนของภาคเอกชนไทยเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล

(๓) การหารือกับนายโพไซ ไขคำพิทูน หัวหน้าห้องว่าการกระทรวงการต่างประเทศ-เทียบเท่าปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการฉลองครบรอบ ๗๐ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-ลาวในปีนี้ และความร่วมมือในการแก้ปัญหาตามแนวชายแดน และในกรอบอนุภูมิภาค โดยเฉพาะกรอบ ACMECS ซึ่งลาวจะเป็นประธานในปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕ ตลอดจนจะร่วมกันผลักดันความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เป็นรูปธรรม และมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศจากผลประทบของโควิด-๑๙

(๔) การหารือกับดาโตะ ซรี มูฮัมหมัด ชาฮ์รูล อิกราม ยาขอบ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย

ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันส่งเสริมความมั่นคงและความเชื่อมโยงตามแนวชายแดน และร่วมมือกันฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงโควิด-๑๙ ตลอดจนช่วยเหลือคนชาติที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ผ่านกลไกทวิภาคีต่าง ๆ อาทิ การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย - มาเลเซีย และการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย – มาเลเซีย

๔. การเตรียมการเป็นประธานการประชุมกรอบความร่วมมือความคิดริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) ของไทยในปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕

 

  • ไทยจะมีวาระเป็นประธานกรอบความร่วมมือ BIMSTEC ตั้งแต่ปีนี้ ถึงปลายปี ๒๕๖๕ ภายหลังจากรับตำแหน่งต่อจากศรีลังกา ในช่วงการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ ๕
  • กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้ประสานงานหลักฝ่ายไทย ได้เตรียมแนวทางขับเคลื่อนความร่วมมือกรอบ BIMSTEC ในวาระการเป็นประธานของไทย กล่าวคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-๑๙ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เน้นความเป็นหุ้นส่วน (partnership) กับทุกภาคส่วน
  • ความร่วมมือที่จะมุ่งเน้นในกรอบ BIMSTEC ได้แก่ (๑) เร่งเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับกลุ่ม BIMSTEC โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความปลอดภัยทางสาธารณสุข (๒) มุ่งเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม ทั้งทางถนน โดยเฉพาะถนนสามฝ่าย (Trilateral Highway) ระหว่างไทย เมียนมา และอินเดีย และการจัดทำความตกลงว่าด้วยการเดินเรือตามแนวชายฝั่งทะเลรอบอ่าวเบงกอล (๓) สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
  • ไทยจะผลักดันวาระแห่งชาติ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio, Circular and Green (BCG) Economy) ในเรื่องการส่งเสริมให้ใช้พลังงานหมุนเวียนให้เป็นประโยชน์กับประชาชนฐานราก

 

๕. การลงสมัครสมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission-ILC) ของผู้สมัครไทย

  • รัฐบาลไทยได้พิจารณาเสนอชื่อ ดร. วิลาวรรณ มังคละธนะกุล อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้สมัครของไทยสำหรับตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission – ILC) วาระปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ซึ่งการเลือกตั้งดังกล่าวจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ ในช่วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ ๗๖ ที่นครนิวยอร์ก
  • การที่นักกฎหมายระหว่างประเทศของไทยได้ดำรงตำแหน่งสมาชิก ILC จะช่วยสะท้อนท่าทีและบริบทของไทยในการกำหนดทิศทางการพัฒนาและวางมาตรฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่จะรักษาผลประโยชน์ของไทยและของภูมิภาค รวมถึงผลักดันหัวข้อที่ประเทศไทยและภูมิภาคให้ความสำคัญ อาทิ การปฏิบัติที่เป็นธรรมและเท่าเทียมในการลงทุนระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศกับโรคระบาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับภาคธุรกิจและประชาชน โดยเฉพาะการคุ้มครองการลงทุนของภาคเอกชนไทยในต่างประเทศ

 

๖. การมีส่วนร่วมของของประชาชนในการกำหนดหัวข้อหลัก (theme) สำหรับการเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำ APEC ปี ๒๕๖๕ ของไทย

กระทรวงการต่างประเทศขอเชิญชวนประชาชนให้ร่วมแสดงความความคิดเห็น หรือเสนอ Keyword เพื่อเป็นหัวข้อหลัก (theme) ที่ไทยจะขับเคลื่อนในการเป็นเจ้าภาพเอเปค ทางเฟซบุ๊ก กระทรวงการต่างประเทศ หรือทวิตเตอร์ @MFAThai

 

๗. Spokesman Live วันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ขอเชิญทุกท่านติดตามชมรายการ Spokesman Live คุยรอบโลกกับโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ โดยแขกรับเชิญในสัปดห์นี้ คือ นายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่จะมาร่วมพูดคุยเรื่อง "ทิศทางการทูตไทยกับเส้นทางสู่อาชีพนักการทูตสำหรับคนรุ่นใหม่"

 

๘. สารคดีพิเศษรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ เวลา ๒๑.๐๐ น. กระทรวงการต่างประเทศ ขอเชิญชวนรับชมสารคดีพิเศษรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ที่จะออกอากาศทางสถานี MCOT HD ช่อง ๓๐ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ เวลา ๒๑.๐๐ น.

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลจัดตั้งขึ้นเพื่อมอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงาน และ/หรือ มีผลงานวิจัยดีเด่นทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษยชาติ โดยคัดเลือกจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากทั่วโลก ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ ทั้งนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชอนุสรณ์ และเผยแพร่พระราชเกียรติคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้เป็นองค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ