ประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกเครือข่าย

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกเครือข่าย

วันที่นำเข้าข้อมูล 3 ก.ค. 2555

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 11,700 view

ความร่วมมือระหว่างสมาชิกเอเปคเพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยภิบัติ

 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งครอบคลุมพื้นที่โลกถึงร้อยละ 52 ของโลกและมีจำนวนประชากรถึง ร้อยละ 59 ของ จำนวนประชากรโลก ได้ประสบกับวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียซึ่งทำให้เกิดคลื่น ยักษ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศริมฝั่งมหาสมุทร และเมื่อปี 2548 พายุ เฮอริเคนแคทรีนาได้สร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่สหรัฐอเมริกา เอเปคเล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือระหว่างเศรษฐกิจสมาชิก ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยภิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะเหตุวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติเท่านั้น แต่รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคติดต่อด้วย เอเปคจึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการตอบสนองและการเตรียมความพร้อมรับมือ กับภัยธรรมชาติและสถานการณ์ฉุกเฉิน (APEC Strategy on Response to and Preparedness for Natural Disasters and Emergencies) เมื่อเดือนมีนาคม 2548 ซึ่งนำไปสู่การการจัดตั้งกลุ่มทำงานด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินของเอเปค (Task Force for Emergency Preparedness - TFEP)          

นอก จากนี้ คณะทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของเอเปค ยังมีบทบาทในการร่วมดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมของเอเปค (Industrial Science and Technology Working Group - ISTWG) ได้จัดการสัมมนาเรื่องการลดความเสียหายจากการเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ ณ กรุงจาร์การ์ตา อินโดนีเซีย เมื่อเดือนกันยายน 2548 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเทคโนโลยีในสามสาขาได้แก่

1) การลดภัยภิบัติจากการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ

2) การจัดการเพื่อรับมือกับภัยภิบัติ

3) เทคนิคการก่อสร้างอาคารซึ่งทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

4) การกระจายและแลกเปลี่ยนข้อมูล และ

5) การให้การศึกษา

ในส่วนของคณะทำงานด้านพลังงาน (Energy Working Group - EWG) ได้ จัดทำโครงการและเสนอแนวความคิดริเริ่มส่งเสริมศักยภาพของสมาชิกในการรับมือ กับการขาดแคลนพลังงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน คณะทำงานด้านโทรคมนาคมและข้อมูลข่าวสาร (Telecommunication and Information Working Group - TELWG) ได้ ให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมสาขาดังกล่าวของเอเปค โดยการส่งเสริมการขยายตัวของการเข้าถึงระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เช่นโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ตลอดจนเครื่องมือสื่อสารอื่น ๆ ในภูมิภาค และได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบการเตือนภัยภิบัติ และแนวปฏิบัติแก่สมาชิกเอเปคเกี่ยวกับระบบขั้นตอนการเตือนภัยก่อนเกิดภัยภิ บัติ นอกจากนี้ กลุ่มทำงานด้านการสาธารณสุข (APEC Health Task Force) ได้จัดทำข้อเสนอเพื่อการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีที่เกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2548 ผู้ นำเศรษฐกิจเอเปคได้ให้การรับรองมาตรการการดำเนินความร่วมมือระหว่างสมาชิกใน การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ระหว่างสมาชิกในการป้องกันและจำกัดบริเวณการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกตั้งแต่ ต้นตอ และการป้องกันการแพร่ระบาดสู่มนุษย์ จัดทำลิสต์รายชื่อของผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคและทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีในการตอบสนองการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกได้อย่างทันท่วงที มีทดสอบระบบการเตรียมความพร้อมของระบบเครือข่ายการสื่อสารภายในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ต้นปี 2549 มีการกระจายข้อมูลสู่ ประชาชนและภาคธุรกิจ และการสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจสอบและควบคุมตามแนวชายแดนเพื่อการ ลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดอันเกิดจากการแลกเปลี่ยนทางการค้า และการเดินทางของนักท่องเที่ยว

ทั้งนี้ กลุ่มทำงานด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินของเอเปค หรือ TFEP ได้ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการประสานกิจกรรมสาขาดังกล่าวของกลุ่มทำงานต่าง ๆ ภายใต้กรอบเอเปค โดยในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2549 จะ เน้นการปรับปรุงแผนการดำเนินงานเพื่อดำเนินกิจกรรมการจำลองสถานการณ์ในการ ตอบรับสถานการณ์แพร่ระบาดฉุกเฉิน เพื่อทดสอบระบบการสื่อสารในภูมิภาค ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกและโรค ระบาดอื่น ๆ ต่อไป โดยจะมีการทดสอบระบบในระหว่างวันที่ 7-8 มิถุนายน ศกนี้ ก่อนจะรายงานผลในการสัมมนาระหว่างสมาชิกเอเปค ในเดือนสิงหาคม ศกนี้ ณ สิงคโปร์ ต่อไป

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.apecsec.org.sg/apec/apec_groups/som_special_task_groups/emergency_preparedness.html