ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยเป็นประธานเปิดการสัมมนา “Business Opportunities for Thailand-Taiwan Biotechnology Collaboration”

ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยเป็นประธานเปิดการสัมมนา “Business Opportunities for Thailand-Taiwan Biotechnology Collaboration”

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 ก.ค. 2558

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 พ.ย. 2562

| 619 view
            เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ นายเกรียงศักดิ์กิตติชัยเสรีผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาในหัวข้อ “Business Opportunities for Thailand - Taiwan Biotechnology Collaboration“ ซึ่งจัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน (บีโอไอ) ไทเปณโรงแรม Sheraton Taipei โดยผู้อำนวยการใหญ่ฯได้เชิญชวนให้นักลงทุนไต้หวันในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพพิจารณาการไปลงทุนในประเทศไทยพร้อมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมศักยภาพโอกาสการลงทุนและสิทธิประโยชน์ของอุตสาหกรรมดังกล่าวในประเทศไทยให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้รับทราบ
 
            การสัมมนาดังกล่าวมีผู้เข้าร่วม ๗๐ คนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงนักลงทุนโดยเฉพาะในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพให้ไปลงทุนในประเทศไทยเนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลกอีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ ๒๑ โดยในการสัมมนาดังกล่าวนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “Thailand as a Gateway to ASEAN” โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทยรวมทั้งศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยในอาเซียนนอกจากนี้ยังมีการบรรยายโดยดร.นตพรจันทร์วราสุทธิ์จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติซึ่งมาบรรยายเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศไทยซึ่งช่วยทำให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นภาพเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดังกล่าวในประเทศไทยชัดเจนยิ่งขึ้นทั้งนี้ในช่วงท้ายของการสัมมนายังได้มีการเชิญชวนให้นักลงทุนไต้หวันที่ไปลงทุนในประเทศไทยแล้วได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมการสัมมนาอีกด้วย
 
            ปัจจุบันมีนักลงทุนชาวไต้หวันและครอบครัวกว่า ๑๕๐,๐๐๐ คนอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม ๒๕๘ ไต้หวันมีปริมาณเงินลงทุนในการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยจำนวน ๑๐ โครงการมูลค่ารวม ๑,๒๑๒ ล้านบาทคิดเป็นลำดับที่ ๕ ของประเทศที่มีปริมาณเงินลงทุนในการยื่นขอรับการส่งเสริมฯสูงสุด (รองจากญี่ปุ่นสิงคโปร์จีนและฮ่องกงตามลำดับ) ทั้งนี้แนวโน้มการลงทุนของไต้หวันในประเทศไทยได้เปลี่ยนทิศทางจากเดิมที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่กำลังจะเป็นผลิตภัณฑ์หลักในตลาดโลกดังนั้นการจัดการสัมมนาในครั้งนี้จึงสอดรับกับทิศทางที่เปลี่ยนไปดังกล่าวเป็นอย่างดี

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ